ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 2

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 3

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 4

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 5

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม

วันที่อัพเดทล่าสุด : 25.11.2566

 

สำนักงานกิจการยุติธรรม ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1-10 กันยายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง โดยการสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling)และกระจายตัวอย่างทั่วประเทศไทย ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.00

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินในสภาพสังคมปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.31 ระบุว่า รู้สึกค่อนข้างปลอดภัย ร้อยละ 29.77 รู้สึกไม่ค่อยปลอดภัย ร้อยละ 20.46 รู้สึกปลอดภัยมาก และร้อยละ 9.46 รู้สึกไม่ปลอดภัยเลย

 

ด้านความเชื่อมั่นต่อมาตรการของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดูแลความปลอดภัยในร่างกายและทรัพย์สิน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.91 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 33.59 ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 12.98 ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 11.52 เชื่อมั่นมาก

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อประเด็นเนื้อหาที่ภาครัฐควรจัดให้มีในระบบหรือแอปพลิเคชัน (Application) เพื่อพยากรณ์สถานการณ์การเกิดอาชญากรรมหรือการแจ้งข้อมูลให้ทราบถึงสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่/ช่วงเวลา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 91.25 เห็นว่าภาครัฐควรจัดให้มีการค้นหาสถานีตำรวจใกล้เคียงในระบบหรือแอปพลิเคชัน (Application) มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 89.50 การแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรม ร้อยละ 87.75 การแจ้งพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและช่วงเวลาการเกิดอาชญากรรม และการแจ้งข้อมูลองค์ความรู้และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการป้องกันภัยอาชญากรรม ร้อยละ 87.00 ข้อมูลสถิติการเกิดอาชญากรรม และร้อยละ 85.75 ข้อมูลวางแผนการเดินทาง เพื่อรับรู้ระดับความเสี่ยงอาชญากรรมในพื้นที่ ตามลำดับ

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงเรื่องที่ต้องการทราบหากหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมจะมีการจัดทำระบบหรือแอปพลิเคชัน (Application) เพื่อการเรียนรู้กฎหมายในช่องทางออนไลน์ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.55 ระบุว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับกลโกงในสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 53.21 เรื่องช่องทางการดำเนินการจากการถูกฉ้อโกงของมิจฉาชีพ ร้อยละ 51.22 เรื่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ร้อยละ 37.33  เรื่องช่องทางการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ร้อยละ 36.64 เรื่องกฎหมายจราจร ร้อยละ 32.67 เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ร้อยละ 29.08 เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินและหนี้นอกระบบ ร้อยละ 28.02 เรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ร้อยละ 24.43 เรื่องการขอรับความช่วยเหลือหรือเยียวยา ในกรณีตกเป็นผู้เสียหายหรือแพะจากการถูกดำเนินคดี ร้อยละ 15.42 เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดี และคดีล้มละลาย ร้อยละ 13.89 เรื่องการดำเนินคดี การประกันตัว ค่าธรรมเนียมศาล ทนายความ และร้อยละ 12.44 เรื่องกฎหมายประกันภัย

 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.43 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง ร้อยละ 18.02 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคใต้ ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออก ตัวอย่างร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 12.90 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

 

ตัวอย่างร้อยละ 95.95 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.28 นับถือศาสนาอิสลาม  และร้อยละ 0.76 นับถือศาสนาคริสต์ ตัวอย่างร้อยละ 34.20 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.89 สมรส ร้อยละ 0.92 หม้าย และร้อยละ 0.99 หย่าร้าง ตัวอย่างร้อยละ 0.69 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 23.82 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 33.82 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.78 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.09 จบการศึกษาปริญญาตรี และร้อยละ 4.80 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 9.54 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้างของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.80 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 22.21 ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 9.85 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.95 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 20.31 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณ/ว่างงาน และร้อยละ 6.34 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

 

ตัวอย่างร้อยละ 23.13 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 4.27 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 15.65 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 28.78 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.16 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 10.23 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท และร้อยละ 8.78 ไม่ระบุรายได้ 

 

 

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 2

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 3

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 4

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 5

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th