เกี่ยวกับธุรกิจโพล
วัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" นอกจากจะเป็นหน่วยงานกลางของสถาบันในการดำเนินงานด้านการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ และเผยแพร่ผลการสำรวจสู่สาธารณะ (หรือโพลสาธารณะ) แล้ว ยังมีอีกวัตถุประสงค์ที่สำคัญ นั่นคือ การให้บริการวิชาการด้านวิจัยเชิงสำรวจให้กับหน่วยงานทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน องค์การมหาชน องค์กรระหว่างประเทศและคณาจารย์หน่วยงานภายในสถาบัน
|
การดำเนินงานด้านธุรกิจโพล ในช่วงแรก จะดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การให้บริการการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์จากตัวอย่างหลักของศูนย์ฯ นิด้าโพล ต่อมาขอบเขตการให้บริการวิชาการด้านวิจัยเชิงสำรวจของธุรกิจโพลขยายตัวมากขึ้น ศูนย์ฯ นิด้าโพล จึงเพิ่มการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการลงพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการเก็บข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำรวจออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด |
ธุรกิจโพล มีหน้าที่หลักในการให้บริการวิชาการด้านการวิจัยเชิงสำรวจ และเป็นที่ปรึกษาให้แก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน องค์การมหาชน องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร รวมทั้งคณาจารย์ภายในสถาบัน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
• การสำรวจความพึงพอใจ • การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม • Mystery Shopper • การวิจัยตลาด • การทำโพล/การทำประชาพิจารณ์ • การสนทนากลุ่ม (Focus Group) • การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) • การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) รวมถึงขั้นตอนการทำโพล
• การลงพื้นที่ภาคสนาม (Field Survey)
• การโทรศัพท์สัมภาษณ์ (Phone Survey)
• การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)
• การสนทนากลุ่ม (Focus Group)
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" ให้ความสำคัญในการควบคุมคุณภาพของข้อมูลในทุกขั้นตอน จึงได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ควบคุมและดูแลตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการเก็บข้อมูล โดยจำแนกวิธีการเข้าไปตรวจสอบและควบคุมคุณภาพข้อมูลตามขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอน ดังนี้ |
ขั้นตอนที่ 1 :: การเก็บรวบรวมข้อมูล |
(1) การคัดเลือกพนักงานเก็บข้อมูลโดยพนักงานเก็บข้อมูลทุกคนจะมีประสบการณ์ในการเก็บข้อมูลงานวิจัยมาไม่ต่ำกว่า 2 ปี ทั้งทางภาคสนามและทางโทรศัพท์ อีกทั้งต้องผ่านการทดลองงานในการเก็บข้อมูลจาก “นิด้าโพล” มาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน |
||
(2) การจัดอบรมทีมและพนักงานเก็บข้อมูล เมื่อได้รับการอนุมัติเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลทาง “นิด้าโพล” จะมีการจัดอบรมทำความเข้าใจระหว่างทีมงานและพนักงานเก็บข้อมูลในเรื่องวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูล ประเภทของกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนรายละเอียดของแบบสอบถาม |
||
(3) การติดตามและบริหารจัดการการเก็บข้อมูล โดยมีเจ้าหน้าที่ส่วนกลางควบคุมบริหารระยะเวลาในการเก็บข้อมูล |
||
(4) การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว จึงนำส่งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ประมวลผลตรวจสอบข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปอีกครั้งก่อนนำไปประมวลผล |
ขั้นตอนที่ 2 :: การประมวลผล |
(1) มีการตรวจสอบความสมบูรณ์และความสอดคล้องของคำตอบในแบบสอบถามทุกฉบับ |
||
(2) มีการตรวจสอบการลงรหัสและการป้อนข้อมูลของคำตอบในแบบสอบถาม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการประมวลผล |
ขั้นตอนที่ 3 :: การวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงาน |
(1) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และความเหมาะสมของข้อมูล |
||
(2) การวิเคราะห์และการเขียนรายงานการวิจัย จะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ “นิด้าโพล” และทำการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของการวิเคราะห์ต่อไป |