พ.ศ. 2518 | ||
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ “นิด้า” ได้จัดให้มีการสำรวจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้น เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2518 นับเป็นการทำโพลครั้งแรกในประเทศไทยที่ใช้ความรู้ทางสถิติมาทำนายผลการสำรวจได้อย่างใกล้เคียงกับผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นจริง ทำให้โพลของนิด้า หรือ “นิด้าโพล” เป็นที่รู้จักอย่างมากในสมัยนั้น | ||
พ.ศ. 2519 | ||
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ยุติการดำเนินการ “นิด้าโพล” เนื่องจากเกิดความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ | ||
พ.ศ. 2550 |
||
|
ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในขณะนั้น เห็นสมควรให้มีการฟื้นฟู “นิด้าโพล” โดยให้ใช้วิธีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนด้วยวิธีการเก็บข้อมูลทางโทรศัพท์ ซึ่งมีศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.ประชุม สุวัตถี และรองศาสตราจารย์ ดร.พาชิตชนัต ศิริพานิช เป็นผู้วางระบบและสร้างกรอบตัวอย่าง (Sampling Frame) ให้กับ "นิด้าโพล" เพื่อให้การสุ่มตัวอย่างสามารถเป็นตัวแทนของประชากรไทยได้ "นิด้าโพล" จัดเก็บข้อมูลไว้ในรูปแบบของฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ กั่วเจริญ เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมการสุ่มหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการเก็บข้อมูล | |
พ.ศ. 2551 |
||
|
จัดตั้งศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” (NIDA Public Opinion Poll Center) | |
พ.ศ. 2555 |
||
|
สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีมติให้เปลี่ยนชื่อจากศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” (NIDA Public Opinion Poll Center) เป็น ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” (NIDA Poll Center) |
คติพจน์
ถูกต้อง เที่ยงตรง ด้วยคุณภาพตามหลักวิชาการ
พ.ศ. 2556 | ||
การทำนายผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในเดือนมีนาคม 2556 เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ “นิด้าโพล” เนื่องจาก “นิด้าโพล” เป็นสำนักโพลเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่สามารถทำนายผลการเลือกตั้งได้อย่างถูกต้องว่า หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการสำรวจของ “นิด้าโพล” กับ ผลการเลือกตั้งที่ประกาศโดยสำนักงาน กกต. คลาดเคลื่อนกันเพียง 4.59% ทำให้ “นิด้าโพล” เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับจากสาธารณชน |
วัตถุประสงค์ |
||
|
• เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่มีความอิสระในการดำเนินการ |
|
|
• เพื่อดำเนินกิจกรรมและให้บริการทางวิชาการด้านวิจัยเชิงสำรวจ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้แก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน องค์การมหาชน องค์การสาธารณประโยชน์และองค์กรระหว่างประเทศ |
|
• เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ และข้อค้นพบเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของภาครัฐ นโยบายสาธารณะ รวมถึงประเด็นสำคัญที่สาธารณะให้ความสนใจ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม ศาสนาและวัฒนธรรม |
||
|
||
พันธกิจ |
|
|
• ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม ศาสนาและวัฒนธรรม |
||
• เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและผลงานของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สู่สาธารณะ |
||
• ให้บริการวิชาการ การวิจัยเชิงสำรวจให้กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน องค์การมหาชน องค์การสาธารณประโยชน์ และองค์กรระหว่างประเทศ |