โพลสาธารณะ

โพลสาธารณะ (Public Poll)

 
โพลสาธารณะ มีภารกิจหลักในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของภาครัฐ นโยบายสาธารณะ รวมถึงประเด็นสำคัญที่สาธารณะให้ความสนใจ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม ศาสนาและวัฒนธรรม โดยมีการสำรวจและเผยแพร่ผลการสำรวจเป็นประจำทุกวันอาทิตย์
 
“นิด้าโพล” มีความโดดเด่นและแตกต่างจากสำนักโพลหรือหน่วยงานวิจัยอื่น เนื่องจาก ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยดำเนินการสุ่มตัวอย่างจากฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ซึ่งในปัจจุบันมีประมาณ 376,867 หน่วยตัวอย่าง กระจายตามภูมิภาค เพศ สถานะการสมรส อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ ซึ่งการเก็บข้อมูลแต่ละครั้งจะมีการกระจายสัดส่วนการเก็บข้อมูลให้ใกล้เคียงกับสัดส่วนประชากรที่แท้จริงของประเทศ โดยเน้นการกระจายสัดส่วนตามพื้นที่ เพศ และอายุ จึงทำให้ผลโพลมีความแม่นยำสูง 
 
พิสูจน์ได้จากผลโพลการทำนายผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา และการทำนายผลการเลือกตั้ง สส. ในเขตกรุงเทพมหานคร ในปี 2566  โดยในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ปี 2556 “นิด้าโพล” เป็นสำนักโพลเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่สามารถทำนายถูกว่า หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. เช่นเดียวกันกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในปี 2565 “นิด้าโพล” เป็นสำนักโพลเดียวที่ทำนายว่าคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จะได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. ด้วยคะแนนมากกว่า 50% ซึ่ง “นิด้าโพล” ทำนายว่า คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จะได้ประมาณ 50.72% ซึ่งคลาดเคลื่อนจากผลการเลือกตั้งจริงเพียงแค่ 1.91% และในการเลือกตั้ง สส. กทม. เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 “นิด้าโพล” สามารถทำนายผลการเลือกตั้ง สส. กทม. ทั้ง 33 เขต ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำในทุกเขตเลือกตั้ง ทำให้ผลการสำรวจในประเด็นอื่น ๆ ของ “นิด้าโพล” ได้รับการยอมรับจากสาธารณะด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งมูลค่าสื่อจากผลการสำรวจของ “นิด้าโพล” เป็นหนึ่งในข้อพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ

 

 

ขั้นตอนการทำโพล (Polling Steps)

» 1 «
กำหนดหัวข้อและออกแบบสอบถามสำหรับการทำโพล ซึ่งรวมถึงการกำหนดประชากรเป้าหมายและวิธีการสุ่มตัวอย่างจากฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล โดยนักวิชาการคอมพิวเตอร์ผู้ดูแลระบบจะใส่ข้อมูลเพื่อออกคำสั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์สุ่มหมายเลขโทรศัพท์จากฐานข้อมูลตามที่ต้องการ เช่น หากต้องการเก็บข้อมูลผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป และมีภูมิลำเนาในภาคเหนือ ระบบก็จะสุ่มเฉพาะหมายเลขโทรศัพท์ตามที่ต้องการ
 
» 2 «
อธิบายแบบสอบถามให้แก่พนักงานเก็บข้อมูลเพื่อให้มั่นใจว่าผู้เก็บข้อมูลจะเข้าใจแบบสอบถามอย่างชัดเจนในคำถามและตัวเลือก
 
» 3 «
เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และบันทึกลงในคอมพิวเตอร์
 
» 4 «
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรวมถึงการสุ่มตรวจแบบสอบถามเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลมีความน่าเชื่อถือ
 
» 5 «
ประมวลผล และเขียนรายงาน รวมถึงการออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographic) เพื่อให้ผู้รับข่าวสารสามารถเข้าใจผลการสำรวจได้ง่าย
» 6 «
การเผยแพร่ผลโพลสู่สาธารณะ

 

 

ขั้นตอนการทำโพล
การกำหนดประเด็นคำถามและขนาดตัวอย่าง
กระบวนการควบคุมคุณภาพข้อมูล
การเผยแพร่ผลโพล

ขั้นตอนการทำโพล

การกำหนดประเด็นคำถามและขนาดตัวอย่าง

กระบวนการควบคุมคุณภาพข้อมูล

 

การเผยแพร่ผลโพล

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th