ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5
Post-Aftershock
วันที่อัพเดทล่าสุด : 06.04.2568

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ เรื่อง “Post-Aftershock” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความกังวลใจของคนกรุงเทพมหานครต่อความปลอดภัยของอาคารหลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงเรื่องที่คนกรุงเทพมหานครกังว ลใจภายหลังการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 68.09 ระบุว่า อาคารต่าง ๆ จะมีความมั่นคง ปลอดภัยแค่ไหน รองลงมา ร้อยละ 59.47 ระบุว่า หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก ระบบเตือนภัยจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ ร้อยละ 43.97 ระบุว่า แผ่นดินจะไหวอย่างรุนแรงอีกเมื่อไร ร้อยละ 33.51 ระบุว่า หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก การจัดการจราจรและการขนส่งสาธารณะจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ ร้อยละ 33.21 ระบุว่า หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก เราควรเตรียมตัวและรับมืออย่างไร ร้อยละ 29.01 ระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศจะได้รับผลกระทบในทางลบหรือไม่ ร้อยละ 22.98 ระบุว่า รัฐจะสามารถดำเนินคดีอย่างเข้มงวด กับบุคคลหรือองค์การที่มีส่วนทำให้เกิดตึกถล่มได้หรือไม่ ร้อยละ 22.82 ระบุว่า การมีอาการจิตตก ตื่นตระหนก หรืออุปทานหมู่ ทั้ง ๆ ที่อาจไม่มีเหตุการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้น ร้อยละ 21.53 ระบุว่า ข่าวปลอมที่สร้างความตื่นกลัว ร้อยละ 19.62 ระบุว่า การช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติจะมีความเป็นธรรมหรือไม่ ร้อยละ 16.72 ระบุว่า การท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบในทางลบหรือไม่ ร้อยละ 2.75 ระบุว่า ไม่มีความกังวลใจ และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความมั่นใจของคนกรุงเทพมหานครต่อความปลอดภัยของอาคารในกรุงเทพมหานครหลังการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว พบว่า
- อาคารห้างสรรพสินค้า ตัวอย่าง ร้อยละ 47.25 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 30.15 ระบุว่า
ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 12.60 ระบุว่า มั่นใจมาก ร้อยละ 9.47 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ - อาคารสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 40.61 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา
ร้อยละ 37.25 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 10.69 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 10.38 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ - โรงแรม ตัวอย่าง ร้อยละ 42.75 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 36.18 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ
ร้อยละ 10.61 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 9.77 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ - อาคารสถานศึกษาของเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 53.12 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 29.39 ระบุว่า
ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 9.47 ระบุว่า มั่นใจมาก ร้อยละ 7.33 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ - อาคารสำนักงานของเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 49.62 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 32.14
ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 10.08 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 7.63 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.53 ระบุว่า
ไม่ตอบ/ไม่สนใจ - ตึกแถวอาคารพาณิชย์ ตัวอย่าง ร้อยละ 42.13 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 38.40 ระบุว่า
ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 6.95 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ - อาคารสถานศึกษาของรัฐ ตัวอย่าง ร้อยละ 40.38 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 36.88 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 15.57 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 6.64 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
- อาคารสถานบันเทิง ตัวอย่าง ร้อยละ 44.12 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 26.49 ระบุว่า
ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 18.70 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 5.42 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 5.27 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ - อาคารที่พักอาศัยของภาคเอกชน (เช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์) ตัวอย่าง ร้อยละ 41.68 ระบุว่า
ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 35.34 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 17.18 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 5.34 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ - อาคารที่พักอาศัยของหน่วยงานภาครัฐ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.70 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 30.08 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 17.63 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 2.83 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
- อาคารที่ทำการของหน่วยงานภาครัฐ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.93 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 17.33 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 2.52 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร โดยตัวอย่าง ร้อยละ 45.50 เป็นเพศชาย และร้อยละ 54.50 เป็นเพศหญิง โดยตัวอย่าง ร้อยละ 10.92 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.10 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.17 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.73 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 28.08 อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยตัวอย่างร้อยละ 93.66 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 5.27 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.07 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 42.68 สถานภาพโสด ร้อยละ 54.27 สมรส และร้อยละ 3.05 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่โดยตัวอย่าง ร้อยละ 0.84 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 9.77 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 26.56 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.79 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 44.20 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 11.84 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.24 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 29.16 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 27.02 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 0.08 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 6.79 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 23.44 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงานและร้อยละ 5.27 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.82 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 0.53 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 4.27 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 25.27 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 15.11 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 8.70 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.34 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 2.92 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.76 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 2.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.31 ไม่ระบุรายได้
ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5