ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5
กาสิโน…จุดแตกหักเพื่อไทย - ภูมิใจไทย
วันที่อัพเดทล่าสุด : 27.04.2568

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “กาสิโน…จุดแตกหักเพื่อไทย - ภูมิใจไทย ?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-23 เมษายน 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการอนุญาตให้มี “กาสิโน” ในร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.05 ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการให้ความสำคัญของประชาชนระหว่าง “สถานบันเทิงครบวงจร” หรือ “กาสิโน” ภายหลังรับฟังข่าวเกี่ยวกับการจัดตั้งสถานบันเทิงครบวงจรที่รวมถึงกาสิโน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.73 ระบุว่าไม่ให้ความสำคัญใด ๆ เลย รองลงมา ร้อยละ 27.24 ระบุว่า ให้ความสำคัญเท่า ๆ กันในข้อมูล ทั้งเรื่องสถานบันเทิงครบวงจรและกาสิโน ร้อยละ 19.47 ระบุว่า ให้ความสำคัญกับข้อมูลเรื่องสถานบันเทิงครบวงจรมากกว่า และร้อยละ 7.56 ระบุว่า ให้ความสำคัญกับข้อมูลเรื่องกาสิโนมากกว่า
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร หากไม่มีการอนุญาตให้มี “กาสิโน” จะสามารถผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.18 ระบุว่า ไม่ผ่าน รองลงมา ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ผ่าน ร้อยละ 19.01 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการเสนอร่าง พ.ร.บ. โดยไม่มี “กาสิโน” และร้อยละ 2.14 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีที่ นายไชยชนก ชิดชอบ สส.บุรีรัมย์ และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ประกาศว่า “จะไม่มีวันเห็นด้วยกับกาสิโน” พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.80 ระบุว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง รองลงมา ร้อยละ 29.08 ระบุว่า เป็นการสร้างเงื่อนไขของพรรคภูมิใจไทยเพื่อต่อรองทางการเมือง ร้อยละ 27.63 ระบุว่า เป็นการตัดสินใจส่วนบุคคล โดยพรรคภูมิใจไทยไม่เกี่ยวข้องด้วย ร้อยละ 22.44 ระบุว่า แค่ประกาศตามกระแสสังคม แต่สุดท้ายก็ต้องทำตามมติพรรค ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ในท้ายที่สุด พรรคเพื่อไทยจะหาทางผลักดันให้เกิดสถานบันเทิงครบวงจรที่มี “กาสิโน” ได้ ร้อยละ 17.40 ระบุว่า มีแนวโน้มสูงว่าสถานบันเทิงครบวงจรที่มี “กาสิโน” จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ร้อยละ 16.26 ระบุว่า เป็นการส่งสัญญาณว่า พรรคภูมิใจไทยไม่เห็นด้วยกับกาสิโน ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ในท้ายที่สุดพรรคภูมิใจไทยก็ต้องยอมพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 10.84 ระบุว่า มีแนวโน้มสูงว่า จะมีความแตกแยกในพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 9.39 ระบุว่า เป็นการส่งสัญญาณว่า พรรคภูมิใจไทยพร้อมแตกหักกับพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 6.72 ระบุว่า มีแนวโน้มสูงว่า พรรคภูมิใจไทยจะถูกถอดออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ 5.95 ระบุว่า เป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง และร้อยละ 4.50 ระบุว่า ในท้ายที่สุดพรรคเพื่อไทยจะยอมถอยให้พรรคภูมิใจไทย
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.70 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.28 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก โดยตัวอย่าง ร้อยละ 47.94 เป็นเพศชาย และร้อยละ 52.06 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.13 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.34 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 25.80 อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยตัวอย่าง ร้อยละ 96.72 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.44 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.42 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.37 สมรส และร้อยละ 2.21 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ โดยตัวอย่าง ร้อยละ 0.53 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 17.18 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 34.50 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.08 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 32.75 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.96 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.47 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.48 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.05 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 10.92 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.50 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.31 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.27 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.62 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 3.28 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 15.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30.38 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.22 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.58 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.36 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.37 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.31 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.15 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 1.22 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.32 ไม่ระบุรายได้
ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5