ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 2

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 3

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 4

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 5

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

บัญชีผี ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่อัพเดทล่าสุด : 27.02.2567

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง บัญชีผีหน่วยงานภาครัฐใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,102 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาบัญชีผีหน่วยงานภาครัฐใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนต่อข่าวเจ้าหน้าที่รัฐจำนวนหนึ่งมีชื่อปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ไม่มีตัวตนเข้ามาทำหน้าที่จริงในหน่วยงานนั้น ๆ (บัญชีผีหน่วยงานภาครัฐ) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.29 ระบุว่า เชื่อว่าเกิดขึ้นจริง รองลงมา ร้อยละ 25.95 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง ร้อยละ 19.33 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 14.07 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง และร้อยละ 0.36 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ     

ด้านความรู้สึกของประชาชนต่อข่าวเจ้าหน้าที่รัฐจำนวนหนึ่งมีชื่อปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ไม่มีตัวตนเข้ามาทำหน้าที่จริงในหน่วยงานนั้น ๆ (บัญชีผีหน่วยงานภาครัฐ) เฉพาะตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อว่าเกิดขึ้นจริง ค่อนข้างเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง และไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ (จำนวน 734 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.32 ระบุว่า อาจจะมีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่ รองลงมา ร้อยละ 41.55 ระบุว่า ไม่เป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่รัฐผู้ที่ปฏิบัติงานจริงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 30.65 ระบุว่า เป็นการย้ายแค่ชื่อเข้ามาเอาตำแหน่ง เพื่อการเติบโตทางราชการในวันหน้า ร้อยละ 30.38 ระบุว่า เป็นการใช้เส้นสายทางราชการ/การเมือง ร้อยละ 27.38 ระบุว่า เป็นเรื่องปกติ ในระบบราชการไทย ร้อยละ 17.57 ระบุว่า ผู้บริหารในส่วนกลางไม่ใส่ใจดูแลแก้ปัญหาบัญชีผีหน่วยงานภาครัฐใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 14.85 ระบุว่า เป็นการอาศัยช่องว่างทางกฎ ระเบียบในระบบราชการ และร้อยละ 1.91 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาบัญชีผีหน่วยงานภาครัฐใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อว่าเกิดขึ้นจริง ค่อนข้างเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง และไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ (จำนวน 734 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 57.08 ระบุว่า จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้มงวดในการตรวจสอบอย่างจริงจัง และมีบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับคนที่กระทำผิดก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ขณะที่ ร้อยละ 40.74 ระบุว่า ไม่มีทางแก้ไขปัญหาได้ เพราะ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มานานจนกลายเป็นเรื่องปกติ มีเรื่องของอำนาจ ผลประโยชน์และเส้นสายเข้ามาเกี่ยวข้องจึงเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และร้อยละ 2.18 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.84 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 32.85 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปัตตานี และร้อยละ 29.31 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดยะลา ตัวอย่าง ร้อยละ 53.45 เป็นเพศชาย และร้อยละ 46.55 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.62 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 22.78 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 23.41 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 28.77 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 18.42 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 40.29 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 59.53 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.18 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่าง ร้อยละ 24.50 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.05 สมรสแล้ว และร้อยละ 2.45 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

ตัวอย่าง ร้อยละ 19.24 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 31.49 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.17 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 34.39 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.44 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.27 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 21.05 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.25 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.51ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 9.71 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.52 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.06 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.54 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.36 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 17.24 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.78 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.86 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.34 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 6.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.54 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.89 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 2

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 3

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 4

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 5

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th