ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5
ม็อบเยาวชนปลดแอก 7 สิงหาคม
วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ม็อบเยาวชนปลดแอก 7 สิงหาคม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 – 11 สิงหาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,318 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการชุมนุมของ ม็อบเยาวชนปลดแอก 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีผู้อยู่เบื้องหลังของ ม็อบเยาวชนปลดแอก 7 สิงหาคม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.74 ระบุว่า มีผู้อยู่เบื้องหลัง ขณะที่ ร้อยละ 36.04 ระบุว่า ไม่มีผู้อยู่เบื้องหลัง และร้อยละ 12.22 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมของ ม็อบเยาวชนปลดแอก 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 26.18 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการแสดงออกที่ทำได้ในการเรียกร้องสิทธิ และเป็นวิถีทางแบบประชาธิปไตย เป็นการเรียกร้องความเป็นธรรม ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาล อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เพื่อประเทศจะได้เดินหน้าต่อไปได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า การชุมนุมควรใช้วิธีที่เหมาะสมให้ยึดหลักสันติวิธี และไม่เห็นด้วยที่จะใช้ความรุนแรง ร้อยละ 19.19 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ เป็นการออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเล็งเห็นถึงปัญหาที่ประชาชนได้รับมากขึ้น เรียกร้องความยุติธรรม อยากเห็นบ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ไม่เห็นด้วยที่จะใช้ความรุนแรงในการชุมนุม ร้อยละ 16.77 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ วิธีการรุนแรงเกินไป ก่อให้เกิดความวุ่นวาย มีวิธีการอื่นที่ดีกว่าการชุมนุม ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ได้ และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นได้ ร้อยละ 35.43 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ เป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ ทำให้เกิดความวุ่นวาย บ้านเมืองไม่สงบสุข เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ดี ขณะที่บางส่วนระบุว่า อันตรายเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ยังรุนแรงอยู่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 2.43 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.73 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.25 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.21 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.38 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.43 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.79 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.21 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 8.35 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.46 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.02 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.31 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 20.86 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.75 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.73 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.46 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.06 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 23.52 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.91 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.58 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.99 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 26.78 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.54 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.75 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.49 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.22 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.22 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.08 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.50 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.17ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.05 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 12.97 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 23.37 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.34 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 23.14 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.42 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 22.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 8.42 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.25 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.77 ไม่ระบุรายได้
ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5