ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 ม.ค. 2568

  • 2

    การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 ม.ค. 2568

  • 3

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 ม.ค. 2568

  • 4

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 5

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

ชูสามนิ้วและผูกโบว์ขาวในโรงเรียน

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

          ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ชูสามนิ้วและผูกโบว์ขาวในโรงเรียน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 – 27 สิงหาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,317 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการที่นักเรียนจำนวนหนึ่งรวมกลุ่มในโรงเรียนเรียกร้องเชิงสัญลักษณ์ด้วยการชูสามนิ้วและผูกโบว์ขาว การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ที่ร้อยละ 97.0

 

          จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการที่นักเรียนจำนวนหนึ่งรวมกลุ่มในโรงเรียนเรียกร้องเชิงสัญลักษณ์ด้วยการชูสามนิ้วและผูกโบว์ขาว พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.25 ระบุว่า เป็นสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก หากไม่กระทำผิดกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 21.18 ระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมในสถานศึกษา ร้อยละ 16.17 ระบุว่า เป็นการแสดงออกเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการ ร้อยละ 15.79 ระบุว่า เป็นการแสดงออกด้วยพลังบริสุทธิ์ของนักเรียน ร้อยละ 13.67 ระบุว่า เป็นแค่แฟชั่นการแสดงออกทำตามกระแส ตาม social media/คำชักชวนของเพื่อน ร้อยละ 11.77 ระบุว่า เป็นการแสดงออกเพื่ออนาคตของประเทศ ร้อยละ 9.26 ระบุว่า เป็นการแสดงออกที่มีกลุ่มการเมือง/พรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง ร้อยละ 6.99 ระบุว่า เป็นการแสดงออกเพื่อล้มรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  ร้อยละ 3.80 ระบุว่า เป็นการสร้างความแตกแยกในสถานศึกษา ร้อยละ 3.11 ระบุว่า เป็นการแสดงออกที่มีเจตนาอื่นแอบแฝง ร้อยละ 1.97 ระบุว่า เป็นจุดเริ่มต้นของความแตกแยกในครอบครัว ร้อยละ 0.91 ระบุว่า เป็นการแสดงออกที่มีหน่วยงานต่างประเทศอยู่เบื้องหลัง และร้อยละ 5.09 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

          ด้านการเห็นด้วยของประชาชนกับการที่นักเรียนจำนวนหนึ่งรวมกลุ่มในโรงเรียนเรียกร้องเชิงสัญลักษณ์ด้วยการชูสามนิ้วและผูกโบว์ขาวพบว่า ร้อยละ 34.78 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นสิทธิและเสรีภาพของนักเรียนจำนวนหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองแต่ควรอยู่ในขอบเขต และครู/อาจารย์ ผู้ปกครองควรดูแลและให้คำแนะนำ ร้อยละ 17.23 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ เป็นสิทธิของนักเรียนจำนวนหนึ่งที่จะเรียกร้องเชิงสัญลักษณ์ด้วยการชูสามนิ้วและผูกโบว์ขาวโดยไม่ผิดกฎของทางโรงเรียน ร้อยละ 15.41 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยังไม่สมควรเกี่ยวข้องเรื่องการเมือง เนื่องจากความคิดและวุฒิภาวะที่ยังไม่มากพอ ร้อยละ 25.82 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ เป็นการแสดงออกที่ไม่เหมาะสม ก้าวร้าว เนื่องจากเป็นสถาบันการศึกษา และควรทำหน้าที่ของตนเอง คือ เรียนหนังสือ และร้อยละ 6.76 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

 

          ส่วนความเชื่อของประชาชนว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างวัย จากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน พบว่า  ร้อยละ 29.31 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะ เด็กในยุคสมัยนี้มีความคิดเป็นของตัวเอง มีความเชื่อมั่นในตนเองค่อนข้างสูง ไม่ค่อยเชื่อผู้ใหญ่ และไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างจากตนเอง ร้อยละ 28.63 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะ อิทธิพลทาง social media ส่งผลให้เด็กมีความก้าวร้าว รุนแรง นำมาซึ่งความขัดแย้ง และมีความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่างวัยมากขึ้น ร้อยละ 14.88 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะ เป็นการแสดงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของเด็กจำนวนหนึ่งเท่านั้น และเป็นการทำตามกระแสแฟชั่นในสังคม ร้อยละ 24.75 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะ คนทุกวัยมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และเด็กทุกวันนี้มีความคิดเป็นของตนเอง และร้อยละ 2.43 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

           ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับความขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง จากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 51.33 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะ แต่ละฝ่ายต่างคิดว่าอุดมการณ์ทางการเมืองของตนเองถูกต้องเสมอ เป็นแบบนี้ทุกยุคทุกสมัย ร้อยละ 28.17 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันแต่ละฝ่ายมีความคิดเห็นและอุดมการณ์ต่างกันอย่างชัดเจน ร้อยละ 8.43 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะ คนทุกวัยมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและอุดมการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 9.11 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะ เป็นสิทธิและเสรีภาพของแต่ละบุคคลในการแสดงอุดมการณ์ทางการเมืองได้อย่างมีอิสระ และร้อยละ 2.96 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

 

          เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.88 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.05 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.22 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.41 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.82 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.18 เป็นเพศหญิง

 

         ตัวอย่างร้อยละ 7.52 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 16.25 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.11 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.79 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 21.33 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.61 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.81 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.99 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.59 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 24.98 สถานภาพโสด ร้อยละ 68.03 สมรสแล้ว ร้อยละ 5.09 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.90 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

 

          ตัวอย่างร้อยละ 26.35 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.91 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.20 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.87 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.62 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.05 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 12.07 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.12 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.65 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.68 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.24 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.07 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.81 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 2.28 ไม่ระบุอาชีพ

 

ตัวอย่างร้อยละ 17.46 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.59 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.91 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.47 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 5.62 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.87 ไม่ระบุรายได้

 

 

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 ม.ค. 2568

  • 2

    การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 ม.ค. 2568

  • 3

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 ม.ค. 2568

  • 4

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 5

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th