ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    เพื่อไทย vs ภูมิใจไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 ก.พ. 2568

  • 2

    War on Scam Gang

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 ก.พ. 2568

  • 3

    ผู้สูงอายุรับเงินสด 10,000 บาท แล้วจะสนับสนุนรัฐบาลไหม

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 ก.พ. 2568

  • 4

    กรุงเทพฯ เมืองในฝุ่น

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 02 ก.พ. 2568

  • 5

    ใครกล้าฟันธง นายก อบจ. เชียงใหม่

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ก.พ. 2568

เพื่อไทย vs ภูมิใจไทย

วันที่อัพเดทล่าสุด : 23.02.2568

           

 

             ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “เพื่อไทย VS ภูมิใจไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทยในช่วงที่ผ่านมา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

 

            จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.85 ระบุว่า มีความขัดแย้งกัน แต่ไม่ค่อยจริงจังเท่าไร รองลงมา ร้อยละ 32.91 ระบุว่า มีความขัดแย้งกันอย่างจริงจังพอสมควร ร้อยละ 17.40 ระบุว่า ไม่มีความขัดแย้งกันเลย ร้อยละ 10.38 ระบุว่า มีความขัดแย้งกันอย่างจริงจังมาก และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

            ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อความเป็นไปได้ของบทสรุปของความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.09 ระบุว่า ท้ายที่สุดทั้งสองพรรคจะตกลงกันได้ และยุติความขัดแย้ง รองลงมา ร้อยละ 37.40 ระบุว่า ความขัดแย้งจะมีต่อไปเรื่อย ๆ แต่ก็ยังอยู่ร่วมรัฐบาลกันเหมือนเดิม ร้อยละ 10.31 ระบุว่า มีการปรับคณะรัฐมนตรี ดึงกระทรวงที่สำคัญออกจากพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 7.10 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี จะประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 2.52 ระบุว่า พรรคภูมิใจไทยจะประกาศถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล ร้อยละ 2.21 ระบุว่า ท้ายที่สุดพรรคภูมิใจไทยจะยอมถอยให้พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 1.30 ระบุว่า ท้ายที่สุดพรรคเพื่อไทยจะยอมถอยให้พรรคภูมิใจไทย และร้อยละ 1.07 ระบุว่า พรรคภูมิใจไทยจะถูกปรับออกจากรัฐบาล

 

           ท้ายที่สุดเมื่อถามความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับบทสรุปของความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.73 ระบุว่า ท้ายที่สุดทั้งสองพรรคจะตกลงกันได้ และยุติความขัดแย้ง รองลงมา ร้อยละ 21.60 ระบุว่า ความขัดแย้งจะมีต่อไปเรื่อย ๆ แต่ก็ยังอยู่ร่วมรัฐบาลกันเหมือนเดิม ร้อยละ 17.40 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีจะประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 9.24 ระบุว่า มีการปรับคณะรัฐมนตรี ดึงกระทรวงที่สำคัญออกจากพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 2.82 ระบุว่า พรรคภูมิใจไทยจะประกาศถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ท้ายที่สุดพรรคภูมิใจไทยจะยอมถอยให้พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 1.53 ระบุว่า พรรคภูมิใจไทยจะถูกปรับออกจากรัฐบาล และร้อยละ 1.00 ระบุว่า ท้ายที่สุดพรรคเพื่อไทยจะยอมถอยให้พรรคภูมิใจไทย

 

          เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก โดยตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยตัวอย่าง ร้อยละ 96.18 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.82 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.00 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 36.26 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.37 สมรส และร้อยละ 2.37 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ โดยตัวอย่าง ร้อยละ 0.53 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 16.72 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 33.44 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.92 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 33.74 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.65 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 9.31 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.18 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.38 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.46 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.18 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.31 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน
และร้อยละ 6.18 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 20.77 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 3.28 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 14.27 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 34.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.68 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.15 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.15 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.31 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 0.38
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 6.64 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    เพื่อไทย vs ภูมิใจไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 ก.พ. 2568

  • 2

    War on Scam Gang

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 ก.พ. 2568

  • 3

    ผู้สูงอายุรับเงินสด 10,000 บาท แล้วจะสนับสนุนรัฐบาลไหม

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 ก.พ. 2568

  • 4

    กรุงเทพฯ เมืองในฝุ่น

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 02 ก.พ. 2568

  • 5

    ใครกล้าฟันธง นายก อบจ. เชียงใหม่

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ก.พ. 2568

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th