ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5
ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร
วันที่อัพเดทล่าสุด : 12.01.2568
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-10 มกราคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,803 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการตัดสินใจ เพื่อสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. เชียงใหม่และนายก อบจ. เชียงรายของพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการตัดสินใจของประชาชนที่มีต่อการปราศรัยหาเสียงของคุณทักษิณ ชินวัตร เพื่อสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. เชียงใหม่ ของพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.11 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 23.24 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 17.06 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะเลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจใด ๆ และร้อยละ 9.00 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ ไม่เลือกพรรคเพื่อไทย
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ในครั้งนี้ อาจส่งผลต่อการเลือกตั้ง สส. จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งถัดไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.37 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย รองลงมา ร้อยละ 28.87 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 24.74 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล ร้อยละ 14.43 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผล และร้อยละ 1.59 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับการตัดสินใจของประชาชนที่มีต่อการปราศรัยหาเสียงของคุณทักษิณ ชินวัตร เพื่อสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. เชียงราย ของพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.01 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 26.09 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 17.12 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะเลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว ร้อยละ 14.54 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจใด ๆ และร้อยละ 9.24 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ ไม่เลือกพรรคเพื่อไทย
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ในครั้งนี้ อาจส่งผลต่อการเลือกตั้ง สส. จังหวัดเชียงราย ในครั้งถัดไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.96 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย รองลงมา ร้อยละ 25.95 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 20.24 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล ร้อยละ 16.44 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผล และร้อยละ 0.41 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่าง ร้อยละ 47.05 เป็นเพศชาย และร้อยละ 52.95 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.15 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.90 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.00 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 23.43 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 29.52 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 97.28 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.66 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 2.06 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.02 สถานภาพโสด ร้อยละ 60.64 สมรส และร้อยละ 2.34 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 2.34 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 22.12 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 33.65 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.25 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.74 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.90 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.59 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.06 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.27 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 8.81 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 22.31 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.09 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.87 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.12 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 5.06 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 15.94 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30.83 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.18 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.03 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.34 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.47 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.34 ไม่ระบุรายได้
สำหรับลักษณะทั่วไปของตัวอย่างในจังหวัดเชียงราย พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน อยู่จังหวัดเชียงราย ตัวอย่าง ร้อยละ 47.96 เป็นเพศชาย และร้อยละ 52.04 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.33 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.66 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 17.53 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.41 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 29.07 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 97.01 นับถือศาสนาพุทธ และร้อยละ 2.99 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.61 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.67 สมรส และร้อยละ 2.72 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 2.99 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 31.39 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 34.10 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.66 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 22.55 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.31 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.34 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.09 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.15 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.90 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.39 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.33 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงานและร้อยละ 3.80 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.15 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 5.71 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 20.92 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 28.80 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 7.88 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 1.49 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 0.41 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.14 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.29 ไม่ระบุรายได้
ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5