ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5
จะออมเงิน... ต้องซื้อหวยเกษียณ
วันที่อัพเดทล่าสุด : 07.07.2567
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “จะออมเงิน…ต้องซื้อหวยเกษียณ!” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับหวยเกษียณ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความสนใจของประชาชนในการซื้อหวยเกษียณที่จะออกโดยกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.34 ระบุว่า ไม่สนใจเลย รองลงมา ร้อยละ 21.07 ระบุว่า ค่อนข้างสนใจ ร้อยละ 17.02 ระบุว่า ไม่ค่อยสนใจ ร้อยละ 15.42 ระบุว่า สนใจมาก และร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการจำหน่ายหวยเกษียณเพื่อส่งเสริมการออม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.99 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ เป็นการมอมเมาให้ประชาชนเสพติดการพนัน หวยเกษียณไม่คลอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพ รองลงมา ร้อยละ 26.34 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นทางเลือกการออมที่น่าสนใจ เป็นการออมเพื่อลุ้นรางวัล และเป็นเงินออมไว้ใช้ในอนาคตได้ ร้อยละ 25.80 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ เป็นแรงจูงใจในการเก็บออมให้แก่ประชาชน สามารถซื้อหวยแบบออนไลน์ได้ทำให้สะดวก และร้อยละ 16.87 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ ระยะเวลาที่จะสามารถถอนเงินคืนได้ยาวนานเกินไป มีจำนวนรางวัลไม่มาก และเงินรางวัลน้อย
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการจำกัดการจำหน่ายหวยเกษียณเฉพาะกลุ่มสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และแรงงานนอกระบบ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.16 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 22.55 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 21.08 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 18.75 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจำกัดการซื้อหวยเกษียณ ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.41 ระบุว่า เหมาะสมดีแล้ว รองลงมา ร้อยละ 35.72 ระบุว่า ไม่ควรจำกัดวงเงินการซื้อหวยเกษียณเลย ร้อยละ 10.54 ระบุว่า เห็นด้วยกับการจำกัดการซื้อหวยเกษียณ แต่ควรที่จะน้อยกว่า 3,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 6.74 ระบุว่า เห็นด้วยกับการจำกัดการซื้อหวยเกษียณ แต่ควรที่จะมากกว่า 3,000 บาทต่อเดือน และร้อยละ 0.59 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงหน่วยงานภาครัฐที่ควรเป็นผู้ดำเนินโครงการหวยเกษียณ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.09 ระบุว่า ธนาคารของรัฐ รองลงมา ร้อยละ 33.82 ระบุว่า กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ร้อยละ 22.55 ระบุว่า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และร้อยละ 4.54 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.41 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.75 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.74 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.97 สมรส และร้อยละ 2.29 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 21.06 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.65 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.33 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.08 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.88 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.60 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.87 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.60 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 9.54 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.96 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 20.31 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.12 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.15 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.86 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 30.15 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.11 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.47 ไม่ระบุรายได้
ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5