ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 ม.ค. 2568

  • 2

    การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 ม.ค. 2568

  • 3

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 ม.ค. 2568

  • 4

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 5

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

ผิดวินัยจราจร จัดการอย่างไรดี

วันที่อัพเดทล่าสุด : 18.12.2566

 

                   ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ผิดวินัยจราจร จัดการอย่างไรดีทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับวินัยจราจรของคนไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

 

                จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการมีวินัยจราจรของคนไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.17 ระบุว่า คนไทยไม่ค่อยมีวินัยจราจร รองลงมา ร้อยละ 33.21 ระบุว่า คนไทยค่อนข้างมีวินัยจราจร ร้อยละ 14.73 ระบุว่า คนไทยไม่มีวินัยจราจรเลย และร้อยละ 3.89 ระบุว่า คนไทยมีวินัยจราจรที่ดีมาก

 

                ด้านสิ่งที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจกวดขันวินัยจราจร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 67.10 ระบุว่า ขับรถขณะเมาสุรา รองลงมา ร้อยละ 58.17 ระบุว่า ขับรถย้อนศร ร้อยละ 45.57 ระบุว่า ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ร้อยละ 35.19 ระบุว่า ไม่สวมหมวกกันน็อคขณะขับขี่หรือซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ ร้อยละ 33.05 ระบุว่า ขับรถโดยใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ร้อยละ 26.03 ระบุว่า ขับรถหรือจอดรถบนทางเท้า (ฟุตบาท) ร้อยละ 24.35 ระบุว่า ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ร้อยละ 15.19 ระบุว่า ขับรถแซงในที่ห้ามแซง (เช่น แซงบนสะพาน แซงบริเวณทางโค้ง แซงในเส้นทึบ) ร้อยละ 12.75 ระบุว่า ขับรถโดยไม่มีใบขับขี่ ร้อยละ 10.99 ระบุว่า ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ร้อยละ 8.78 ระบุว่า ดันแปลงหรือแต่งรถในลักษณะไม่ปลอดภัย ร้อยละ 7.63 ระบุว่า จอดรถในที่ห้ามจอด หรือจอดรถในช่วงเวลาห้ามจอด ร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยในขณะขับรถ ร้อยละ 4.73 ระบุว่า ขับรถบรรทุกน้ำหนักเกินกำหนด และร้อยละ 2.52 ระบุว่า การขายของบนถนน และขับรถในช่วงเวลาห้ามวิ่ง (รถบรรทุก 6 ล้อ ขึ้นไป) ในสัดส่วนที่เท่ากัน

 

                สำหรับวิธีการบังคับใช้กฎหมายจราจรของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้การทำความผิดน้อยลงหรือหมดไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.74 ระบุว่า ลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำ โดยเริ่มจากเบาไปหาหนัก (เช่น ครั้งที่ 1 ตักเตือน ครั้งที่ 2 ปรับ 1,000 บาท และตัดแต้ม ครั้งที่ 3 ปรับ 2,000 บาท และตัดแต้ม ไปจนถึงขั้นสูงสุดพักใช้ใบอนุญาตขับขี่) รองลงมา ร้อยละ 19.92 ระบุว่า ตักเตือนสำหรับผู้ทำความผิดครั้งแรก หากทำผิดซ้ำภายใน 1 ปี ให้ลงโทษตามกฎหมาย โดยอัตราโทษให้เป็นไปตามดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม ร้อยละ 19.47 ระบุว่า ตักเตือนสำหรับผู้ทำความผิดครั้งแรก หากทำผิดซ้ำภายใน 1 ปี ให้ลงโทษตามกฎหมาย โดยมีการกำหนดอัตราโทษตายตัวสำหรับข้อหานั้น ๆ ร้อยละ 10.00 ระบุว่า จับกุมหรือออกใบสั่งทุกกรณี โดยมีการกำหนดอัตราโทษตายตัวสำหรับข้อหานั้น ๆ ร้อยละ 6.95 ระบุว่า จับกุมหรือออกใบสั่งทุกกรณี โดยอัตราโทษให้เป็นไปตามดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

                เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการให้ประชาชนสามารถแจ้งความผู้ทำผิดกฎจราจรด้วยการส่งหลักฐาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดี (เช่น ภาพถ่ายหรือภาพเคลื่อนไหว) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 47.40 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 31.91 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 10.38 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และร้อยละ 10.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เมื่อถามผู้ที่เห็นด้วยมากและค่อนข้างเห็นด้วยกับการให้ประชาชนสามารถแจ้งความผู้ทำผิดกฎจราจรด้วยการส่งหลักฐานให้ตำรวจ เพื่อดำเนินคดี (จำนวน 1,039 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับ การแบ่งสินไหมค่าปรับให้กับประชาชนผู้แจ้งความดำเนินคดีผู้ทำผิดกฎจราจร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.35 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 31.57 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 17.81 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 14.73  ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.54 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

                ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงวิธีการที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด หากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ดีที่สุด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.58 ระบุว่า รถที่มีการติดกล้องบันทึกเหตุการณ์ ให้สามารถเคลื่อนย้ายรถได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องรอเจ้าหน้าที่ รองลงมา ร้อยละ 35.04 ระบุว่า ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางไปถึงในจุดที่มีอุบัติเหตุให้เร็วที่สุด ร้อยละ 18.70 ระบุว่า ให้ตัวแทนประกันภัยเดินทางมาถึงจุดเกิดเหตุโดยเร็วที่สุด และร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

                เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง  ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

 

                ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.26 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.98 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.76 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

 

                ตัวอย่าง ร้อยละ 32.98 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.20 สมรส และร้อยละ 2.82 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.11 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.89 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.02 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.63 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.35 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 

                ตัวอย่าง ร้อยละ 10.31 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.63 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.69 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.14 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.73 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.39 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.11 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

 

                ตัวอย่าง ร้อยละ 22.52 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 17.48 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.79 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.03 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.29 ไม่ระบุรายได้

 

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 ม.ค. 2568

  • 2

    การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 ม.ค. 2568

  • 3

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 ม.ค. 2568

  • 4

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 5

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th