ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 2

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 3

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 4

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 5

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

สภาล่ม

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “สภาล่ม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเหตุการณ์ “สภาล่ม” ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคล/กลุ่ม ที่ควรรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ “สภาล่ม” ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.44 ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 42.37 ระบุว่า รัฐบาล ร้อยละ 37.94 ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายค้าน ร้อยละ 32.60 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 14.66 ระบุว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 12.60 ระบุว่า ประธานวิปรัฐบาล นายนิโรธ สุนทรเลขา ร้อยละ 11.83 ระบุว่า ประธานวิปฝ่ายค้าน นายสุทิน คลังแสง ร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่ควรมีใครต้องรับผิดชอบ และร้อยละ 7.10 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ     

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ “สภาล่ม” ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.85 ระบุว่า เป็นเกมการเมืองของกลุ่มที่ต้องการล้มรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 31.98 ระบุว่า มี ส.ส. จำนวนหนึ่ง ไร้สามัญสำนึกในการทำหน้าที่ภายในรัฐสภา ร้อยละ 16.03 ระบุว่า วิปรัฐบาล ไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 11.91 ระบุว่า มี ส.ส. จำนวนหนึ่ง ขี้เกียจสันหลังยาว ร้อยละ 8.17  ระบุว่า รัฐบาลต้องการเตะถ่วงกฎหมาย ร้อยละ 4.89 ระบุว่า วาระการประชุมไม่ดึงดูดใจให้เข้าประชุม ร้อยละ 4.35 ระบุว่า วิปฝ่ายค้าน ไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 2.82 ระบุว่า สภาล่มเป็นอุบัติเหตุ ไม่มีใครอยากให้เกิด และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ส.ส. จำนวนหนึ่งมีภาระหน้าที่อื่นที่สำคัญกว่าต้องทำ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อวิธีแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ “สภาล่ม” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.15 ระบุว่า ลงโทษตัดเงินเดือน สวัสดิการ ส.ส. ที่ขาดประชุมสภาเกินกว่าที่กำหนดโดยไม่มีเหตุจำเป็น รองลงมา ร้อยละ 22.82 ระบุว่า ลงโทษตัดสิทธิทางการเมือง ส.ส. ที่ขาดประชุมสภาเกินกว่าที่กำหนดโดยไม่มีเหตุจำเป็น ร้อยละ 22.29 ระบุว่า ลงโทษไล่ออกจากตำแหน่ง ส.ส. ในกรณีที่ขาดประชุมสภาเกินกว่าที่กำหนดโดยไม่มีเหตุจำเป็น ร้อยละ 17.71 ระบุว่า ลงโทษปรับเงิน ส.ส. ทุกครั้งที่ไม่เข้าร่วมประชุม ร้อยละ 16.03 ระบุว่า ลงโทษประจานชื่อผู้ขาดประชุมสภาต่อสาธารณะ ร้อยละ 14.20 ระบุว่า ลงโทษยุบพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ขาดประชุมสภา เกินกว่าที่กำหนด ร้อยละ 12.60 ระบุว่า ไม่มีวิธีใดที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และร้อยละ 2.98 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.78 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.80 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.32 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.59 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.51 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 49.01 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.99 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.56 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 15.50 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 21.22 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 33.74 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 21.98 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.18 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.75 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.61 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.46 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 25.42 สถานภาพโสด ร้อยละ 71.45 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.60 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่าง ร้อยละ 27.41 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.73 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.10 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.65 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.58 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.00 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.12 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.00ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.35 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.64 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.54 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.82 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 19.92 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.68 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.95 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.61 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.11 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.23 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 2

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 3

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 4

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 5

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th