ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5
ทำไมพรรคเพื่อไทยชนะพรรคพลังประชารัฐ อย่างขาดลอย ในการเลือกตั้งซ่อมเขต 9 กทม. (หลักสี่-จตุจักร)
วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทำไมพรรคเพื่อไทยชนะพรรคพลังประชารัฐอย่างขาดลอย ในการเลือกตั้งซ่อม เขต 9 กทม. (หลักสี่-จตุจักร)” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,324 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับทำไมพรรคเพื่อไทยจึงชนะพรรคพลังประชารัฐอย่างขาดลอยในการเลือกตั้งซ่อม เขต 9 กทม. (หลักสี่-จตุจักร) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงสาเหตุที่พรรคเพื่อไทยชนะพรรคพลังประชารัฐอย่างขาดลอย ในการเลือกตั้งซ่อม เขต 9 กทม. (หลักสี่-จตุจักร) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.21 ระบุว่า ฐานคะแนนเดิมในพื้นที่ของพรรคเพื่อไทยดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ รองลงมา ร้อยละ 30.14 ระบุว่า เป็นการส่งสัญญาณว่าประชาชนไม่พอใจการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 25.45 ระบุว่า ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยได้รับความนิยมในพื้นที่มากกว่าผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 24.70 ระบุว่า เป็นการส่งสัญญาณว่าประชาชนไม่พอใจการทำงานของพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 15.03 ระบุว่า เป็นการส่งสัญญาณว่าประชาชนไม่พอใจการทำงานของอดีต ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ นายสิระ เจนจาคะ ร้อยละ 14.05 ระบุว่า เป็นการส่งสัญญาณว่าประชาชนไม่พอใจการทำงานของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 12.24 ระบุว่า พรรคเพื่อไทยมีกลยุทธ์ในการหาเสียงดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 7.63 ระบุว่า เป็นการส่งสัญญาณว่าประชาชนไม่พอใจการทำงานของหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 6.42 ระบุว่า เป็นการส่งสัญญาณว่าประชาชนพอใจการทำงานของพรรคเพื่อไทยในฐานะฝ่ายค้าน ร้อยละ 1.96 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐแพ้ให้กับกระแสของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 0.68 ระบุว่า ผู้อำนวยการการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐไม่ใช่ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า และร้อยละ 0.38 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพมหานคร ตัวอย่าง ร้อยละ 48.94 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.06 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 5.59 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 12.01 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 16.69 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 32.93 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 32.78 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 93.43 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.23 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.36 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.98 ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.79 สถานภาพโสด ร้อยละ 67.75 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.93 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 15.03 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 26.28 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.65 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 39.35 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 12.16 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.87 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 24.32 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 26.96ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 0.15 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 7.86 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 31.12 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.19 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.96 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 4.99 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 19.87 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 15.71 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 7.78 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 13.44รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.25 ไม่ระบุรายได้
ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5