ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 2

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

  • 3

    คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 10 มี.ค. 2567

  • 4

    ผู้ทรงอิทธิพลกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 มี.ค. 2567

  • 5

    อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 27 ก.พ. 2567

การคุกคามทางเพศในสถานศึกษา

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การคุกคามทางเพศในสถานศึกษา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 – 26 พฤษภาคม 2564 จากนักเรียน นักศึกษา ที่มีอายุ 15 - 25 ปี กระจายทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,308 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในสถานศึกษา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

                 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเสี่ยงจากการถูกคุกคามทางเพศในโรงเรียน หรือ ระหว่างการเดินทางไป - กลับโรงเรียนของนักเรียน พบว่า ร้อยละ 13.00 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยงเลย ร้อยละ 15.75 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเสี่ยง ร้อยละ 55.12 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเสี่ยง และร้อยละ 16.13 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก

                ด้านระดับความเสี่ยงของสถานที่ในโรงเรียน ดังต่อไปนี้

  1. 1. ห้องน้ำ พบว่า ร้อยละ 05 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 23.24 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย - น้อยที่สุด ร้อยละ 29.89 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 41.82 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด  
  2. 2. ห้องเก็บของที่อยู่ในบริเวณเปลี่ยว พบว่า ร้อยละ 59 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 15.75 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย - น้อยที่สุด ร้อยละ 18.50 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 62.16 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด
  3. 3. ห้องเรียน พบว่า ร้อยละ 44 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 51.91 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย – น้อยที่สุด ร้อยละ 22.78 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 9.87 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด
  4. 4. ห้องที่ไม่ได้ใช้แต่ไม่ปิดล็อค พบว่า ร้อยละ 67 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 21.94 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย - น้อยที่สุด ร้อยละ 25.15 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 48.24 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด
  5. 5. โรงยิม พบว่า ร้อยละ 45 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 46.33 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย - น้อยที่สุด ร้อยละ 23.55 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 15.67 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด  
  6. 6. บริเวณบันได พบว่า ร้อยละ 51 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 53.59 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย - น้อยที่สุด ร้อยละ 17.58 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 11.32 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด

                สำหรับสิ่งที่โรงเรียนควรปรับปรุงเพื่อสร้างความปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.24 ระบุว่า ครูและบุคลากรในโรงเรียนต้องคอยสอดส่องดูแลอย่างเคร่งครัด รองลงมา ร้อยละ 33.56 ระบุว่า อบรมนักเรียนให้รู้จักดูแลตัวเองและเพื่อน ให้ปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศ ร้อยละ 29.51 ระบุว่า อบรมบุคลากรโรงเรียนเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการคุกคามทางเพศ ร้อยละ 25.61 ระบุว่า กำหนดมาตรการ กฎระเบียบ และบังคับใช้อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศ ร้อยละ 21.94 ระบุว่า ปรับปรุงอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ให้ปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศ และร้อยละ 11.01 ระบุว่า โรงเรียนปลอดภัยดีอยู่แล้ว

             ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงวิธีการจัดการในโรงเรียนเมื่อเกิดเหตุการณ์การคุกคามทางเพศ ดังต่อไปนี้

  1. 1. กระบวนการสอบสวนและลงโทษ พบว่า ร้อยละ 73 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 20.72 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 49.39 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 23.09 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
  2. 2. ความเป็นธรรมในการตัดสิน พบว่า ร้อยละ 81 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 19.80 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 49.01 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 24.46 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
  3. 3. วิธีการลงโทษผู้กระทำผิด พบว่า ร้อยละ 95 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 21.86 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 44.65 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 24.85 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
  4. 4. การดูแลสภาพจิตใจผู้ถูกกระทำ พบว่า ร้อยละ 48 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 21.79 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 43.88 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 22.86 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.79 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.07 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล  และภาคกลาง ร้อยละ 18.50 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.15 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 39.76 เป็นเพศชาย และร้อยละ 60.24 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 95.03 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.06 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.15 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.76 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 99.85 สถานภาพโสด และร้อยละ 0.15 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 90.14 กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 2.98 กำลังศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และร้อยละ 6.88 กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 2

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

  • 3

    คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 10 มี.ค. 2567

  • 4

    ผู้ทรงอิทธิพลกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 มี.ค. 2567

  • 5

    อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 27 ก.พ. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th