ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 ม.ค. 2568

  • 2

    การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 ม.ค. 2568

  • 3

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 ม.ค. 2568

  • 4

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 5

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

ผู้สูงวัยไทย เผชิญภัยกับโรคระบาด COVID-19 อย่างไร

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

          เนื่องในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ตรงกับวันผู้สูงอายุ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ (Center for Aging Society Research – CASR) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ผู้สูงวัยไทย เผชิญภัยกับ   โรคระบาด COVID-19 อย่างไร?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12 และ 18 – 20 มีนาคม 2564 จากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค จำนวน 1,314 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเผชิญภัยกับโรคระบาด COVID-19 ของผู้สูงวัยไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 97.0

  1. การรับรู้ ช่องทางการรับรู้ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19

              จากการสำรวจเมื่อถามถึงเรื่องที่รับรู้หรือเคยได้ยินเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 พบว่า  ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.50 ระบุว่า สวมใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า/ถุงมือ รองลงมา ร้อยละ 79.98 ระบุว่า ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่/เจลแอลกอฮอล์/น้ำยาฆ่าเชื้อ ร้อยละ 53.21 ระบุว่า เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร ร้อยละ 46.50 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการอยู่สถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือรวมกลุ่มกันจำนวนมาก ร้อยละ 21.92 ระบุว่า เลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็นให้ออกนอกบ้านน้อยที่สุด ในระยะเวลาสั้นที่สุด ร้อยละ 13.70 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น และร้อยละ 10.12 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการจับมือ

              สำหรับช่องทางการรับรู้วิธีการหลีกเลี่ยง/ป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.37 ระบุว่าเป็น โทรทัศน์ รองลงมา ร้อยละ 27.93 ระบุว่าเป็น สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Line ร้อยละ 26.03 ระบุว่าเป็น อสม. หรือ อาสาสมัครในชุมชน ร้อยละ 23.97 ระบุว่าเป็น โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 14.08 ระบุว่าเป็น ญาติ เพื่อน เพื่อนร่วมงาน คนในชุมชน ร้อยละ 11.34 ระบุว่าเป็น วิทยุ ร้อยละ 9.67 ระบุว่าเป็น หอกระจายข่าวในหมู่บ้าน ร้อยละ 6.01 ระบุว่าเป็น พนักงานทางการแพทย์ ร้อยละ 5.25 ระบุว่าเป็น เว็บไซต์ ร้อยละ 2.89 ระบุว่าเป็น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ และร้อยละ 1.29 ระบุว่าเป็น โปสเตอร์หรือป้ายโฆษณา

              ส่วนการสวมใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าเมื่อออกนอกบ้านระหว่างการแพร่ระบาด COVID-19 พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.07 ระบุว่า ใส่ทุกครั้ง ขณะที่ ร้อยละ 6.55 ระบุว่า ใส่เป็นบางครั้ง และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่เคยออกนอกบ้านในช่วง COVID-19 ระบาด

  1. ระดับความกังวลหรือความเครียดในช่วงการระบาดของ COVID-19 ในรอบแรกและรอบที่สอง

              ด้านระดับความกังวลหรือความเครียดในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว (ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2563) ซึ่งมีการประกาศ พรก. ฉุกเฉิน และการ lockdown) พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 21.46 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดน้อยที่สุด (1 – 2 คะแนน) ร้อยละ 6.40 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดน้อย (3 – 4 คะแนน) ร้อยละ 27.85 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดปานกลาง (5 – 6 คะแนน) ร้อยละ 19.86 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดมาก (7 – 8 คะแนน) และร้อยละ 24.43 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดมากที่สุด (9 – 10 คะแนน)   

              สำหรับระดับความกังวลหรือความเครียดในช่วงการระบาดของ COVID-19 ครั้งที่ 2 ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึง 20 มีนาคม 2564  (ระหว่าง เดือนธันวาคม 2563 – 20 มีนาคม 2564) พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 26.41 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดน้อยที่สุด (1 – 2 คะแนน) ร้อยละ 9.82 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดน้อย (3 – 4 คะแนน) ร้อยละ 32.88 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดปานกลาง (5 – 6 คะแนน) ร้อยละ 14.30 ระบุว่า  มีความกังวลหรือความเครียดมาก (7 – 8 คะแนน) และร้อยละ 16.59 ระบุว่า มีความกังวลหรือความเครียดมากที่สุด (9 – 10 คะแนน)

  1. ผลกระทบต่อการเข้าใช้บริการทางการแพทย์

              เมื่อถามถึงการนัดหมายและการเลื่อน/ยกเลิกพบแพทย์ในการระบาดในรอบที่ 1 (มี.ค. – พ.ค. 63) ในเรื่องต่อไปนี้

  1. การเข้าพบแพทย์แบบคนไข้ภายนอก พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 76.03 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 23.97 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 72.70 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 27.30 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
  2. ทำฟัน พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 93.46 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 6.54 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 75.58 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 24.42 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
  3. การเข้ารับการผ่าตัดที่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 98.78 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 1.22 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 56.25 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 43.75 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย
  4. การผ่าตัดที่ไม่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 99.54 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 0.46 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 66.67 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 33.33 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
  5. การขอรับยาตามแพทย์สั่ง พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 70.32 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 29.68 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 78.46 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 21.54 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย

              ส่วนการนัดหมายและการเลื่อน/ยกเลิกพบแพทย์ในการระบาดในรอบที่ 2 (ธ.ค. 63 – 20 มี.ค. 64) ในเรื่องต่อไปนี้

  1. การเข้าพบแพทย์แบบคนไข้ภายนอก พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 75.19 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 24.81 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 81.29 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 18.71 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
  2. ทำฟัน พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 93.23 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 6.77 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 73.03 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 26.97 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
  3. การเข้ารับการผ่าตัดที่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 99.24 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 0.76 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 100.00 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย
  4. การผ่าตัดที่ไม่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 99.54 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 0.46 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 50.00 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และเลื่อนการนัดหมาย ในสัดส่วนที่เท่ากัน
  5. การขอรับยาตามแพทย์สั่ง พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 68.49 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 31.51 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 83.33 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 16.67 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
  6. ผลกระทบต่อการทำงานของผู้สูงวัยที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ

              เมื่อพิจารณาด้านผลกระทบต่อการทำงานจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่เกิดการระบาดในรอบแรก ของผู้สูงวัยที่ประกอบอาชีพหลัก/เคยประกอบอาชีพหลัก ดังนี้

  1. ผู้สูงวัยที่เป็นเกษตรกร/ประมง พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.97 ระบุว่า วัน เวลา ทำงาน/รายได้ลดลง รองลงมา ร้อยละ 38.29 ระบุว่า ไม่มีเปลี่ยนแปลงวัน เวลาทำงาน/รายได้ที่ได้รับ และร้อยละ 0.74 ระบุว่า วัน เวลาทำงาน/รายได้เพิ่มขึ้น
  2. ผู้สูงวัยที่เป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.01 ระบุว่า วัน เวลา ทำงาน/รายได้ลดลง รองลงมา ร้อยละ 12.42 ระบุว่า ไม่มีเปลี่ยนแปลงวัน เวลา ทำงาน/รายได้ที่ได้รับ ร้อยละ 3.59 ระบุว่า ตกงาน/ว่างงาน และร้อยละ 0.98 ระบุว่า วัน เวลา ทำงาน/รายได้เพิ่มขึ้น
  3. ผู้สูงวัยที่ทำงานที่มีนายจ้าง (พนักงานเอกชน/รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.89 ระบุว่า วัน เวลา ทำงาน/รายได้ลดลง รองลงมา ร้อยละ 27.99 ระบุว่า ไม่มีเปลี่ยนแปลงวัน เวลา ทำงาน/รายได้ที่ได้รับ ร้อยละ 4.44 ระบุว่า ตกงาน/ว่างงาน และร้อยละ 0.68 ระบุว่า วัน เวลา ทำงาน/รายได้เพิ่มขึ้น
  4. 4. ผู้สูงวัยที่เป็นข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 13 ระบุว่า ไม่มีเปลี่ยนแปลงวัน เวลา ทำงาน/รายได้ที่ได้รับ ในขณะที่ ร้อยละ 12.87 ระบุว่า วัน เวลา ทำงาน/รายได้ลดลง
  5. ผู้สูงวัยที่เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ พบว่า ร้อยละ 100.00 ระบุว่า ไม่มีเปลี่ยนแปลงวัน เวลาทำงาน/รายได้ที่ได้รับ
  6. ผลกระทบต่อการเกื้อกูลทางเศรษฐกิจในครอบครัว

ด้านผลกระทบต่อการเกื้อกูลทางเศรษฐกิจในครอบครัว ดังนี้

  1. การได้รับเงินที่ลูกหลานส่งมาช่วยเหลือ พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 4.34 ระบุว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.04 ระบุว่า ไม่เปลี่ยนแปลง และ ร้อยละ 13.62 ระบุว่า ลดลง
  2. การส่งเงินช่วยเหลือให้ลูกหลาน พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 8.29 ระบุว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.19 ระบุว่า ไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ 9.52 ระบุว่า ลดลง
  3. ผลกระทบต่อกิจกรรมทางสังคม (การเว้นระยะห่างทางสังคม)

เมื่อถามถึงผลกระทบต่อกิจกรรมทางสังคม ดังนี้

  1. การไปเยี่ยมเยียนญาติ/เพื่อน/คนรู้จักที่บ้าน พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 1.90 ระบุว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.51 ระบุว่า ไม่เปลี่ยนแปลง และ ร้อยละ 52.59 ระบุว่า ลดลง
  2. การมาเยี่ยมเยียนจากลูกหลาน (การพบปะ/เจอหน้า/ร่วมกิจกรรม) พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 2.36 ระบุว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.41 ระบุว่า ไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ 50.23 ระบุว่า ลดลง
  3. จำนวนครั้งที่ออกนอกบ้าน พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 2.74 ระบุว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.93 ระบุว่า ไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ 55.33 ระบุว่า ลดลง
  4. ระยะเวลาที่อยู่นอกบ้าน พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 2.44 ระบุว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 40.49 ระบุว่า ไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ 56.62 ระบุว่า ลดลง
  5. การโทรศัพท์ถึงญาติและเพื่อน พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 30.97 ระบุว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 63.17 ระบุว่า ไม่เปลี่ยนแปลง และ ร้อยละ 5.86 ระบุว่า ลดลง
  6. การสื่อสารถึงญาติและเพื่อนผ่านทางไลน์ พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 23.97 ระบุว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 72.07 ระบุว่า ไม่เปลี่ยนแปลง และ ร้อยละ 3.95 ระบุว่า ลดลง
  7. ความคิดเห็นต่อมาตรการในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ของรัฐ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของผู้สูงวัยไทยต่อมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ของรัฐ พบว่า ผู้สูงวัย  ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.04 ระบุว่า เหมาะสมแล้ว รองลงมา ร้อยละ 14.23 ระบุว่า ยังเข้มงวดไม่เพียงพอ ร้อยละ 3.27 ระบุว่า เข้มงวดมากเกินไป และ  ร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

  1. คุณลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

               เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.75 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.72 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.57 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.47 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 56.01 อยู่ในเขตเมือง/ในเขตเทศบาล ร้อยละ 35.92 อยู่ในเขตชนบท/นอกเขตเทศบาล และร้อยละ 8.07 ไม่ระบุเขตที่อยู่ ตัวอย่างร้อยละ 51.52 เป็นเพศชาย และร้อยละ 48.48 เป็นเพศหญิง

              ตัวอย่างร้อยละ 39.96 มีอายุ 45 - 54 ปี ร้อยละ 35.31 มีอายุ 55 - 64 ปี และร้อยละ 24.73 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 6.55 ระบุว่า สถานภาพโสด ร้อยละ 87.21 สมรสแล้ว ร้อยละ 6.01 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.23 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 20.40 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 22.22 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 21.00 ประกอบอาชีพที่มีนายจ้าง (พนักงานเอกชน รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน) ร้อยละ 7.61 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 28.77 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 ม.ค. 2568

  • 2

    การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 ม.ค. 2568

  • 3

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 ม.ค. 2568

  • 4

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 5

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th