ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 2

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 3

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 4

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 5

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

ลงโทษผู้โหวตสวนมติพรรคอย่างไรดี

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ลงโทษผู้โหวต  สวนมติพรรคอย่างไรดี” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 – 26 กุมภาพันธ์ 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการลงโทษ ส.ส. ที่โหวตไม่เป็นไปตามมติพรรค (เช่น โหวตสวนทาง งดออกเสียง ไม่ปรากฏการลงคะแนน เป็นต้น) การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก  (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการลงโทษ ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาล ที่โหวตไม่เป็นไปตามมติพรรคร่วมรัฐบาลพบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.67 ระบุว่า ไม่ควรมีการลงโทษ เพราะ เป็นสิทธิของแต่ละบุคคลในการเเสดงความคิดเห็นที่เเตกต่าง ไม่จำเป็นต้องตามมติของพรรคเสมอไป รองลงมา ร้อยละ 45.80 ระบุว่า ควรมีการลงโทษ เพราะ ไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง ส.ส. มีหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนต้องออกเสียงหรือทำตามมติพรรค และร้อยละ 1.53 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามถึงรูปแบบการลงโทษจากผู้ที่ระบุว่าควรมีการลงโทษ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.34 ระบุว่า ไม่ส่งลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรค ในการเลือกตั้งครั้งหน้า รองลงมา ร้อยละ 26.00 ระบุว่า ห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมทางการเมืองร่วมกับพรรคหรือรัฐบาลอีกต่อไป ร้อยละ 17.33    ระบุว่า ปลดออกจากทุกตำแหน่งในพรรคและรัฐบาล ร้อยละ 16.33 ระบุว่า ไล่ออกจากพรรค ร้อยละ 4.67 ระบุว่า บีบให้ลาออกจากพรรค และร้อยละ 1.33 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือน

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการลงโทษ ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน ที่โหวตไม่เป็นไปตามมติพรรคฝ่ายค้าน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.82 ระบุว่า ไม่ควรมีการลงโทษ เพราะ ต้องเคารพความคิดเห็นของแต่ละบุคคล สิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันสามารถมีความคิดเห็นที่แตกต่าง   กันได้ รองลงมา ร้อยละ 43.82 ระบุว่า ควรมีการลงโทษ เพราะ เป็นการไม่ปฏิบัติตามมติพรรคและไม่ยุติธรรมต่อพรรคที่ตนเองสังกัด เปรียบเสมือนเป็นงูเห่าของพรรค และร้อยละ 2.36 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามถึงรูปแบบการลงโทษจากผู้ที่ระบุว่าควรมีการลงโทษ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.45 ระบุว่า ไม่ส่งลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรค ในการเลือกตั้งครั้งหน้า รองลงมา ร้อยละ 27.70 ระบุว่า ห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมทางการเมืองร่วมกับพรรคอีกต่อไป ร้อยละ 17.07 ระบุว่า ไล่ออกจากพรรค ร้อยละ 15.85 ระบุว่า ปลดออกจากทุกตำแหน่งในพรรค ร้อยละ 4.53 ระบุว่า บีบให้ลาออกจากพรรค และร้อยละ 1.40 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือน  

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.24 ระบุว่า ควรมีการปรับ ครม. เพียงแค่บางตำแหน่ง รองลงมา ร้อยละ 33.66 ระบุว่า ควรมีการปรับ ครม. ครั้งใหญ่ ร้อยละ 11.68 ระบุว่า ไม่ควร      มีการปรับ ครม. และร้อยละ 5.42 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.78 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.80 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.32 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.59 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.51 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.01 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.99 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 7.63 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.80 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.07 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.44 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 22.06 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 96.11 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.52 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.53 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.84 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 24.89 สถานภาพโสด ร้อยละ 70.53 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.51 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.07 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 27.17 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.59 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.65 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.79 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.73 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.07 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 10.46 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.27 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.53ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.89 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.80 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.93 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.05 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.07 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 19.01 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.79 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.50 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.00 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.11 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 5.95 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.64 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 2

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 3

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 4

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 5

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th