ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

ไทยนิยม ยั่งยืน VS ประชานิยม

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ไทยนิยม ยั่งยืน VS ประชานิยม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28 – 29 มีนาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืน และ ประชานิยม การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการรับรู้หรือได้ยินข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.04 ระบุว่า ไม่เคยได้ยิน/ไม่รู้จัก รองลงมาร้อยละ 32.24 ระบุว่า รู้จัก โครงการไทยนิยม ยั่งยืน และร้อยละ 26.72 ระบุว่า เคยได้ยินชื่อโครงการ แต่ไม่รู้ว่าทำเกี่ยวกับอะไร

 

ด้านความคาดหวังของประชาชนต่อสิ่งที่จะได้รับจากโครงการไทยนิยม ยั่งยืน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.08 ระบุว่า เป็นการแก้ปัญหาและพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงอย่างยั่งยืน รองลงมา ร้อยละ 33.44 ระบุว่า  ไม่คาดหวังอะไรกับโครงการนี้ ร้อยละ 11.44 ระบุว่า การจัดสรรงบประมาณลงไปในแต่ละพื้นที่อย่างเท่าเทียมตามความต้องการของประชาชน ร้อยละ 9.20 ระบุว่า ประชาชนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ร้อยละ 6.40 ระบุว่า ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศ และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืน จะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้พ้นจากปัญหาความยากจนได้หรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.16 ระบุว่า สามารถแก้ไขได้ เพราะ เชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาลว่าจะพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น และจะนำงบประมาณไปแก้ไขปัญหาของแต่ละชุมชนให้พ้นจากความยากจนได้ รองลงมา ร้อยละ 42.16 ระบุว่า ไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ตรงจุด แก้ได้เฉพาะคนกลุ่มน้อย ไม่สามารถแก้ไขในระยะยาวได้ อีกทั้งงบประมาณที่ได้ไม่ถึงประชาชน มีการทุจริตคอร์รัปชัน โดยที่ผ่านมายังไม่สามารถทำได้จริง ไม่เห็นเป็นรูปธรรม และร้อยละ 3.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

เมื่อถามถึงความแตกต่างระหว่าง “โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” กับ “นโยบายประชานิยม” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.96 ระบุว่า ไม่แตกต่าง เพราะ เป็นโครงการที่มีลักษณะและวิธีการแก้ไขปัญหาคล้ายคลึงกัน คือทำเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเปลี่ยนจากนโยบายเป็นโครงการเท่านั้น ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือประชาชนแบบเฉพาะหน้าทั้ง 2 โครงการ และไม่สามารถช่วยเหลือในระยะยาวได้จริง รองลงมา ร้อยละ 43.44 ระบุว่า แตกต่าง เพราะ การบริหารงานและรายละเอียดของโครงการแตกต่างกัน โดยนโยบายประชานิยมเป็นการให้ความหวังกับประชาชน ดูฉาบฉวยและเกิดประโยชน์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่โครงการไทยนิยม ยั่งยืน เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ส่งผลให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นโครงการที่ช่วยเหลือประชาชนชนได้จริง เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และร้อยละ 7.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการลงพื้นที่พบปะประชาชนของนายก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นการหาเสียงในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนมีการเลือกตั้ง ปี 2562 หรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.48 ระบุว่า เป็นการหาเสียง  เพราะ โครงการนี้เป็นนโยบายการหาเสียงอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับนักการเมืองที่มีการลงพื้นที่บ่อย เป็นการพบปะประชาชนช่วงใกล้เลือกตั้งเพื่อหวังคะแนนนิยมจากประชาชน และลงพื้นที่บ่อยเกินไป รองลงมา ร้อยละ 42.32 ระบุว่า ไม่เป็นการหาเสียง เพราะ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว โดยมองว่ารัฐบาลทำเพื่อประชาชนจริงๆ อยากพบปะใกล้ชิดกับประชาชน ขณะที่บางส่วนระบุว่า นายกรัฐมนตรีจะไม่ลงเล่นการเมืองอย่างแน่นอน และร้อยละ 7.20 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th