ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 ม.ค. 2568

  • 2

    การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 ม.ค. 2568

  • 3

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 ม.ค. 2568

  • 4

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 5

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ครั้งที่ 3)

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (ครั้งที่ 3)” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 19 กรกฎาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,257 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง ด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

         

จากการสำรวจเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้เข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ58.87 ระบุว่า พรรคการเมืองพรรคใหม่ เพราะ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง มีคนใหม่ๆ นโยบายใหม่ๆ แนวคิด แนวทางการบริหารใหม่ๆ  ขณะที่บางส่วนระบุว่า เบื่อการบริหารงานของพรรคการเมืองพรรคเก่า ร้อยละ 32.78 ระบุว่า พรรคการเมืองพรรคเก่า เพราะ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ เข้าใจและสามารถ แก้ไขปัญหาได้อย่างต่อเนื่องกว่าพรรคการเมืองพรรคใหม่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบการทำงานของพรรคการเมืองพรรคเก่า และร้อยละ 8.35 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ด้านบุคคลที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (10 อันดับแรก) พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 31.26 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 14.96 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 10.50 ระบุว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 4 ร้อยละ 7.80 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย) อันดับ 5 ร้อยละ 7.48 ระบุว่าเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (พรรคอนาคตใหม่)  อันดับ 6 ร้อยละ 6.28 ระบุว่าเป็น พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ (รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย) อันดับ 7 ร้อยละ 3.90 ระบุว่าเป็น นายชวน     หลีกภัย (อดีตนายกรัฐมนตรี) อันดับ 8 ร้อยละ 2.55 ระบุว่าเป็น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รองนายกรัฐมนตรี) อันดับ 9 ร้อยละ 0.64 ระบุว่าเป็น         นายวิษณุ เครืองาม (รองนายกรัฐมนตรี) และอันดับ 10 ร้อยละ 0.48 ระบุว่าเป็น นายไพบูลย์ นิติตะวัน (พรรคประชาชนปฏิรูป)

 

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล (5 อันดับแรก) พบว่า      ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 31.19 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 21.88 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 3 ร้อยละ 16.47  ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 4 ร้อยละ 9.63 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 5 ร้อยละ 2.07 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย

 

สำหรับปัญหาที่อยากให้นายกคนต่อไปเข้ามาแก้ไขมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.39 ระบุว่า ปัญหาปากท้องและหนี้สินของประชาชน รองลงมา ร้อยละ 27.61 ระบุว่า ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ร้อยละ 12.17 ระบุว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจโดยมิชอบ ผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 8.12 ระบุว่า ปัญหาการควบคุมราคาสินค้า ร้อยละ 4.85 ระบุว่า ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ ร้อยละ 3.10 ระบุว่า ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยในปัจจุบัน ร้อยละ 3.02 ระบุว่า ปัญหาการว่างงานและแรงงานนอกระบบ ร้อยละ 1.27 ระบุว่า ปัญหาด้านสุขภาพการรักษาพยาบาล และการคุ้มครองความเสี่ยงของผู้บริโภค ร้อยละ 1.91 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาด้านการคมนาคม การส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย และระบบงานราชการ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ทุกข้อรวมกัน และร้อยละ 0.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก พบว่า ประชาชน   ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.94 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น เพราะ ยังไม่มีความพร้อม สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเลื่อนการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้งเลยทำให้ขาดความเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 38.82 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ เป็นไปตามโรดแมปที่รัฐบาลวางไว้ และเชื่อมั่นในความสามารถและความพร้อมของรัฐบาล และร้อยละ 7.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 ม.ค. 2568

  • 2

    การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 ม.ค. 2568

  • 3

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 ม.ค. 2568

  • 4

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 5

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th