ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 2

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 3

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 4

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 5

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

ความเข้าใจของคนไทยต่อการเลือกตั้งแบบใหม่ 2562

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

..............ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความเข้าใจของคนไทยต่อการเลือกตั้งแบบใหม่ 2562” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5 – 7 พฤศจิกายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,261 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเข้าใจของคนไทยต่อการเลือกตั้งแบบใหม่ ตามรัฐธรรมนูญ 60 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

 

..............จากการสำรวจเมื่อถามถึงการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับการ “กาบัตรลงคะแนน” คนละกี่ใบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.80 ระบุว่า ไม่ทราบ ว่าจะต้อง “กาบัตรลงคะแนน” คนละกี่ใบ และร้อยละ 22.20 ระบุว่า ทราบ ว่าจะต้อง “กาบัตรลงคะแนน” เพียง 1 ใบ 

 

..............ด้านการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร “ส.ส.แบบแบ่งเขต” ของแต่ละพรรคในต่างเขตเลือกตั้ง จะมีหมายเลขเดียวกันหมด หรือ ต่างเขตเลือกตั้งต่างหมายเลข พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.79 ระบุว่า ไม่ทราบ ว่าหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร “ส.ส.แบบแบ่งเขต” ของแต่ละพรรคในต่างเขตเลือกตั้ง จะมีหมายเลขเดียวกันหมด หรือ ต่างเขตเลือกตั้งต่างหมายเลข และร้อยละ 17.21 ระบุว่า ทราบ ว่าหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร “ส.ส.แบบแบ่งเขต” ของแต่ละพรรคจะเป็น “ต่างเขตเลือกตั้งต่างหมายเลข”

 

..............สำหรับการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับช่วงเวลาการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.51 ระบุว่า ไม่ทราบ รองลงมา ร้อยละ 20.30 ระบุว่า ทราบ ว่าเป็นช่วงเวลา 8.00 – 17.00 น. และร้อยละ 6.19 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ซึ่งในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า “ไม่ทราบ” พบว่า ร้อยละ 75.73 ระบุว่า เป็นช่วงเวลา 8.00 – 15.00 น. และร้อยละ 24.27 ระบุว่า เป็นช่วงเวลา 8.00 – 16.00 น.

 

..............ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน ในการเลือกตั้งวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 62 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 95.80 ระบุว่า ไปแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 2.22 ระบุว่า ไม่ไปแน่นอน เพราะ เลือกไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่สะดวกในการเดินทางไปลงคะแนนเสียง และร้อยละ 1.98 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

..............เมื่อสอบถามผู้ที่ระบุว่า จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 62 อย่างแน่นอน ว่าจะเลือกผู้สมัคร เลือกพรรค เลือกว่าที่นายกรัฐมนตรีที่พรรคสนับสนุน หรือเลือกนโยบายพรรค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.02 ระบุว่า เลือกนโยบายพรรค รองลงมา ร้อยละ 19.62 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 14.15 ระบุว่า เลือกพรรค ร้อยละ 13.91 ระบุว่า เลือกผู้สมัคร และร้อยละ 5.30 ระบุว่า เลือกว่าที่นายกรัฐมนตรีที่พรรคสนับสนุน

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 2

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 3

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 4

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 5

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th