ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

การทำงานด้านยาเสพติดของรัฐบาล ในรอบ 6 เดือน

วันที่อัพเดทล่าสุด : 07.06.2567

 

                ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง การทำงานด้านยาเสพติดของรัฐบาล ในรอบ 6 เดือน”  ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5-29 เมษายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่สำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 1-9 และสำนักงาน ป.ป.ส. กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการทำงานด้านยาเสพติดของรัฐบาล ในรอบ 6 เดือน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

         

          จากการสำรวจเมื่อถามถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนจากการทำงานด้านยาเสพติดของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.93 ระบุว่า เพิ่มขึ้น รองลงมา ร้อยละ 41.50 ระบุว่า เหมือนเดิม ร้อยละ 12.65 ระบุว่า ลดลง และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

 

          ด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานด้านยาเสพติดของหน่วยงานราชการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.75 ระบุว่า เชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 36.79 ระบุว่า เชื่อมั่นน้อย ร้อยละ 15.74 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 0.72 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

 

          สำหรับความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานด้านยาเสพติดของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.46 ระบุว่า พึงพอใจ รองลงมา ร้อยละ 32.89 ระบุว่า พึงพอใจน้อย ร้อยละ 15.19 ระบุว่า ไม่พึงพอใจ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

 

          ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงข้อเสนอแนะในการดำเนินงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.43 ระบุว่า หน่วยงานทุกภาคส่วน ควรมีส่วนร่วมในการปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจรัง รองลงมา ร้อยละ 24.28 ระบุว่า แก้ไขกฎหมาย เรื่องการครอบครองยาเสพติด เช่น ยกเลิกนโยบายถือครองยาบ้า 5 เม็ด และกำหนดการใช้หรือจำหน่ายพืชกระท่อมและกัญชาให้ใช้ ทางการแพทย์เท่านั้น ร้อยละ 9.64 ระบุว่า เพิ่มบทลงโทษหรือมาตรการลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดขั้นเด็ดขาด ร้อยละ 6.83 ระบุว่า จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้กับเด็ก เยาวชนและคนในชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดผู้เสพรายใหม่ ร้อยละ 5.61 ระบุว่า บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและจริงจังร้อยละ 5.24 ระบุว่า หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ควรเข้ามาช่วยดูแลสอดส่อง ตั้งจุดตรวจหรือจุดสกัด เพื่อเฝ้าระวังในชุมชน/หมู่บ้าน ร้อยละ 2.81 ระบุว่า หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ร้อยละ 1.82 ระบุว่า มีสถานที่บำบัดแบบครบวงจรและมีการสร้างอาชีพหรืองานรองรับผู้ที่ผ่านการบำบัดมาแล้ว เพื่อที่จะไม่กลับไปยุ่ง กับยาเสพติดอีก และร้อยละ 2.34 ระบุอื่น ๆ

 

          เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 14.65 อาศัยอยู่ในพื้นที่สำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 3 ร้อยละ 14.62 พื้นที่สำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 4 ร้อยละ 9.34 พื้นที่สำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 1 และร้อยละ 8.77 พื้นที่สำนักงาน ป.ป.ส. กรุงเทพมหานคร สำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 2 และสำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 5-9 ในสัดส่วนที่เท่ากัน

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 54.37 เป็นเพศชาย และร้อยละ 45.63 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 7.39 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 13.00 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.07 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 31.73 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 28.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 24.69 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.73 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.29 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.92 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.37 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 

         ตัวอย่าง ร้อยละ 9.95 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.38 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.52 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.73 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.63 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 22.39 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 3.40 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

 

         ตัวอย่าง ร้อยละ 20.63 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.46 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 31.70 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 12.01 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 6.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท และร้อยละ 6.51 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th