ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 2

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

  • 3

    คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 10 มี.ค. 2567

  • 4

    ผู้ทรงอิทธิพลกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 มี.ค. 2567

  • 5

    อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 27 ก.พ. 2567

พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ปะทะ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)

วันที่อัพเดทล่าสุด : 16.02.2567

 

          ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ปะทะ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 23-25 มกราคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กับ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

 

          จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จากพรรคพลังประชารัฐ กับนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.56  ระบุว่า พลเอกประวิตร กับ พลเอกประยุทธ์ ไม่ได้แตกกัน เป็นเพียงแค่การแข่งขันทางการเมือง รองลงมา ร้อยละ 28.93 ระบุว่า การเมืองไม่มีมิตรแท้และศรัตรูที่ถาวร ร้อยละ 20.53 ระบุว่า เป็นสีสันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ร้อยละ 12.52 ระบุว่า พลเอกประยุทธ์ เป็นอิสระมากขึ้นในการตัดสินใจทางการเมืองและการบริหารประเทศ ร้อยละ 10.76 ระบุว่า การแข่งขันกันจะทำให้ทั้งสองพรรคได้ ส.ส. รวมกันแล้วน้อยกว่าจำนวน ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งปี 2562 ร้อยละ 9.01 ระบุว่า พลเอกประวิตร กับ พลเอกประยุทธ์แตกกันอย่างแน่นอน ร้อยละ 8.78 ระบุว่า พลเอกประวิตร และ พรรคพลังประชารัฐ เป็นอิสระมากขึ้น สามารถร่วมรัฐบาลกับฝั่งไหนก็ได้ หลังการเลือกตั้ง ร้อยละ 6.56 ระบุว่า การแข่งขันกันจะทำให้ทั้งสองพรรคได้ ส.ส. รวมกันแล้วมากกว่าจำนวน ส.ส. พรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งปี 2562 ร้อยละ 6.34 ระบุว่า ผู้ที่เคยสนับสนุน พลเอกประยุทธ์ แต่ไม่ชอบ พรรคพลังประชารัฐ จะกลับมาสนับสนุนพลเอกประยุทธ์มากขึ้น และร้อยละ 3.05 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

 

          ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อจำนวน ส.ส. ระหว่าง พรรคพลังประชารัฐ และ พรรครวมไทยสร้างชาติ ภายหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.75 ระบุว่า ทั้งสองพรรค จะได้จำนวน ส.ส. เท่า ๆ กัน รองลงมา ร้อยละ 25.73 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐของพลเอกประวิตร จะได้จำนวน ส.ส. มากกว่า ร้อยละ 24.73 ระบุว่า พรรครวมไทยสร้างชาติ ของพลเอกประยุทธ์ จะได้จำนวน ส.ส. มากกว่า และร้อยละ 6.79 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

 

          ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความเป็นไปได้ที่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะจับมือกันในการจัดตั้งรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.40 ระบุว่า เป็นไปได้มาก รองลงมา ร้อยละ 30.07 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ ร้อยละ 18.32 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้ และร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

          เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.34 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.43 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.23 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 33.13 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.98 สมรส และร้อยละ 3.89 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 28.70 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.37 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.17 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.02 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.74 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 8.24 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.12 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.30 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.58 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.50 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.15 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.11 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

 

          ตัวอย่าง ร้อยละ 23.59 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.14 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.54 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.81 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.01 ไม่ระบุรายได้

 

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 2

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

  • 3

    คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 10 มี.ค. 2567

  • 4

    ผู้ทรงอิทธิพลกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 มี.ค. 2567

  • 5

    อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 27 ก.พ. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th