ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

ผลกระทบของการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ต่อการเมืองระดับชาติ

วันที่อัพเดทล่าสุด : 27.02.2567

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ผลกระทบของการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ต่อการเมืองระดับชาติ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,322 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับผลกระทบของการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ต่อการเมืองระดับชาติ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อการที่ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ77.76 ระบุว่า ไม่แปลกใจเลย เพราะ เป็นคนเก่ง มีคุณสมบัติเพียบพร้อม มีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำงาน และลงพื้นที่รับฟังเสียงจากประชาชนอย่างสม่ำเสมอ จึงได้รับความไว้วางใจจากคนกรุงเทพฯ รองลงมา ร้อยละ 8.85 ระบุว่า ไม่ค่อยแปลกใจ เพราะ มีภาวะผู้นำ มีความเป็นกลางสามารถทำงานได้กับทุกฝ่าย ขณะที่บางส่วนระบุว่า คนกรุงเทพฯ ต้องการการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 7.34 ระบุว่า แปลกใจมาก เพราะ ผลงานในการพัฒนา กทม. ของ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยังไม่มี แต่กลับได้รับคะแนนเสียงเป็นจำนวนมาก ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่คิดว่าคะแนนเสียงที่ได้รับจะถล่มทลายทิ้งห่างคู่แข่งมากขนาดนี้ และร้อยละ 6.05 ระบุว่า ค่อนข้างแปลกใจ เพราะ ลงสมัครในนามอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมือง แต่กลับชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย

ท้ายที่สุดเมื่อถามประชาชนถึงผลกระทบต่อการเมืองในระดับชาติจากการที่ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.88 ระบุว่า คาดว่าจะส่งผลในทางลบต่อคะแนนนิยมของรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 32.53 ระบุว่า จะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อคะแนนนิยมของรัฐบาล ร้อยละ 15.96 ระบุว่า เป็นแค่การเลือกตั้งในจังหวัดหนึ่งเท่านั้น ร้อยละ 9.53 ระบุว่า อาจมีการยุบสภาเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ ร้อยละ 8.40 ระบุว่า จะส่งผลต่อการเลือกตั้ง ส.ส. ในกรุงเทพฯ เท่านั้น ร้อยละ 6.43 ระบุว่า สังคมไทยจะเผชิญกับความขัดแย้งหรือการแบ่งฝ่ายทางการเมืองมากขึ้น ร้อยละ 6.35 ระบุว่า สังคมไทยได้ก้าวข้ามความขัดแย้งหรือการแบ่งฝ่ายทางการเมืองแล้ว ร้อยละ 4.99 ระบุว่า พรรค/กลุ่มการเมือง ฝ่ายค้านจะเกาะกระแส ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในการต่อต้านรัฐบาล ร้อยละ 3.33 ระบุว่า รัฐบาลจะอยู่ยาวเพื่อหาทางสร้างคะแนนนิยมเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 2.12 ระบุว่า บางพรรคอาจถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลเพื่อเอาตัวรอด

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.62 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.25 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.51 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.46 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 47.88 เป็นเพศชาย และร้อยละ 52.12 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.24 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.85 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.29 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.32 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.30 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 94.70 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.86 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.21 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.23 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 32.07 สถานภาพโสด ร้อยละ 65.06 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.57 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่าง ร้อยละ 25.79 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.49 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.51 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.06 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.77 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.38 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.52 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.75 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.42ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 10.59 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.96 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.64 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 5.67 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.45 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.90 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.80 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.00 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.23 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.77 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.92 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.38 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th