ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 2

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

  • 3

    คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 10 มี.ค. 2567

  • 4

    ผู้ทรงอิทธิพลกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 มี.ค. 2567

  • 5

    อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 27 ก.พ. 2567

คนต่างจังหวัด พร้อมที่จะเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองหรือยัง

วันที่อัพเดทล่าสุด : 27.02.2567

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนต่างจังหวัด พร้อมที่จะเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองหรือยัง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,316 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนต่างจังหวัด พร้อมที่จะเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองหรือไม่ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.97 ระบุว่า การได้ผู้ว่าฯ มาจากการเลือกตั้งจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 20.14 ระบุว่า อยากเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ในต่างจังหวัด ร้อยละ 19.15 ระบุว่า เห็นมีแต่นโยบายขายฝัน ไม่รู้ทำได้จริงหรือเปล่า ร้อยละ 13.07 ระบุว่า สนใจนโยบายที่หลากหลายของผู้สมัครผู้ว่าฯ ร้อยละ 8.59 ระบุว่า ผู้ว่าฯ ที่มาจากการแต่งตั้งก็สามารถทำหน้าที่ได้ดีเช่นกัน ร้อยละ 8.36 ระบุว่า การแข่งขันทางการเมืองในกรุงเทพฯ ทำให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง ร้อยละ 7.67 ระบุว่า รู้สึกอิจฉาคนกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิเลือกผู้ว่าฯ ของตนเอง ร้อยละ 6.91 ระบุว่า หากในต่างจังหวัดมีผู้ว่าฯ จากการเลือกตั้ง อาจได้กลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นเข้ามาครองอำนาจ ร้อยละ 5.09 ระบุว่า ต่างจังหวัดมีนายก อบจ. (องค์การบริหารส่วนจังหวัด) อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีผู้ว่าฯ จากการเลือกตั้ง และร้อยละ 1.75 ระบุว่าหากมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ในต่างจังหวัด อาจทำให้สังคมแตกแยก

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการทดลองเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ในจังหวัดใหญ่ ๆ 4-5 จังหวัด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 55.55 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 28.87 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 8.74 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 6.38 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.46 ระบุว่า เฉย ๆ อย่างไรก็ได้         

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความพร้อมของประชาชนที่จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 47.87 ระบุว่า พร้อมมาก รองลงมา ร้อยละ 28.80 ระบุว่า ค่อนข้างพร้อม ร้อยละ 11.25 ระบุว่า ไม่พร้อมเลย ร้อยละ 10.56 ระบุว่า ไม่ค่อยพร้อม และร้อยละ 1.52 ระบุว่า เฉย ๆ อย่างไรก็ได้   

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 28.65 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 19.75 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 36.78 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.10 เป็นเพศชายและร้อยละ 51.90 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.45 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.93 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.15 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.44 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.03 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.74 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.12 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 28.50 สถานภาพโสด ร้อยละ 68.92 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.28 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่าง ร้อยละ 25.99 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 39.29 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.84 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.16 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.42 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.35 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.01 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.66ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.13 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.67 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.97 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 6.91 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 24.09 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.11 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.46 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 12.16 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.87 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.12 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 2

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

  • 3

    คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 10 มี.ค. 2567

  • 4

    ผู้ทรงอิทธิพลกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 มี.ค. 2567

  • 5

    อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 27 ก.พ. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th