ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 2

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 3

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 4

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 5

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

ซื้อเสียงถูกกฎหมาย

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ซื้อเสียงถูกกฎหมาย?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-18 มีนาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,329 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนว่า “ประเทศไทยมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 76.75 ระบุว่า เชื่อมาก รองลงมา ร้อยละ 16.33 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 3.46 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 3.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ และร้อยละ 0.15 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ       

สำหรับความเชื่อว่า “ปัญหาการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” จะสามารถแก้ไขได้ ตัวอย่างที่ระบุว่าเชื่อมาก ค่อนข้างเชื่อ และเฉย ๆ ไม่ตอบ/ไม่สนใจว่า “ประเทศไทยมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ (จำนวน 1,239 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.92 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 17.76 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 11.46 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 6.62 ระบุว่า เชื่อมากและร้อยละ 0.24 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอที่จะให้ “การซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” เป็นการกระทำที่ถูกกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 71.93 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 12.27 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 8.50 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 6.77 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 0.53 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอที่จะให้ “การจัดเลี้ยงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง” เป็นการกระทำที่ถูกกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.44 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 14.52 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 13.02 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 11.89 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.13 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอที่จะให้ “การจัดมโหรสพ กิจกรรมบันเทิงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง” เป็นการกระทำที่ถูกกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 61.17 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 13.54 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 12.27 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 12.19 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.83 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการไม่อนุญาตให้เปิดเผยผลโพลการเลือกตั้ง ในระหว่างเจ็ดวันก่อนการเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการออกเสียงลงคะแนน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.06 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 28.97 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 15.80 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 10.99 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 2.18 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.88 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.19 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.28 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.26 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.39 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.68 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.32 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 5.87 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 13.70 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.56 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 34.76 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 26.11 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.56 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.68 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.38 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.38 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 23.70 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.53 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.39 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.38 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่าง ร้อยละ 29.42 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.11 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.05 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.63 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.34 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.45 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.71 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.56 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.87ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.37 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.62 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 23.48 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.86 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 21.44 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.47 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.68 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.95 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.57 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.68 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 2

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 3

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 4

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 5

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th