ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 2

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

  • 3

    คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 10 มี.ค. 2567

  • 4

    ผู้ทรงอิทธิพลกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 มี.ค. 2567

  • 5

    อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 27 ก.พ. 2567

บ่อนกาสิโนถูกกฎหมาย จะเอาหรือไม่

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง บ่อนกาสิโนถูกกฎหมาย จะเอาหรือไม่! ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 6-8 ธันวาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,318 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อเสนอให้มีบ่อนกาสิโนถูกกฎหมาย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง
โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเคยเข้าบ่อนกาสิโนของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.70 ระบุว่า ไม่เคยเข้าบ่อนกาสิโน รองลงมา ร้อยละ 4.40 ระบุว่า เคยเข้าบ่อนกาสิโนในต่างประเทศ ร้อยละ 0.91 ระบุว่า เคยเข้าบ่อนกาสิโนในประเทศ และเคยเข้าบ่อนกาสิโน ทั้งในและต่างประเทศ ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าที่เคยเข้าเป็นบ่อนกาสิโน  หรือเปล่า

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอให้มีบ่อนกาสิโนถูกกฎหมาย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.51 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ เป็นการมอมเมาประชาชน อาจทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในครอบครัว ปัญหาหนี้สิน และปัญหาอาชญากรรม ขณะที่บางส่วนระบุว่า ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธไม่ควรจะมีการพนันแบบถูกกฎหมาย  รองลงมา ร้อยละ 21.25 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ คนไทยจะได้ไม่ต้องเดินทางไปเล่นที่ต่างประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ถึงไม่เปิดกาสิโนแบบถูกกฎหมายก็มีการลักลอบเปิดบ่อนเถื่อนอยู่ดี ร้อยละ 18.13 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนภายในประเทศ และคนไทยจะได้ไม่ต้องลักลอบเล่นการพนันแบบผิดกฎหมาย ร้อยละ 10.32 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ การพนัน เป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ชอบเล่นการพนัน อาจทำให้เกิดปัญหาหนี้สินและปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 3.79 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อตู้เกมพนันไฟฟ้าและการพนันออนไลน์ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.51 ระบุว่า ทั้งตู้เกมพนันไฟฟ้าและการพนันออนไลน์ไม่ควรเป็นสิ่งถูกกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 23.37 ระบุว่า ทั้งตู้เกมพนันไฟฟ้าและการพนันออนไลน์ควรเป็น สิ่งถูกกฎหมาย ร้อยละ 2.28 ระบุว่า ตู้เกมพนันไฟฟ้าควรเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ร้อยละ 2.05 ระบุว่า การพนันออนไลน์ควรเป็นสิ่งถูกกฎหมายและร้อยละ 3.79 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการเล่นไพ่กินเงินในหมู่ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.72 ระบุว่า ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่ถูกกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 33.54 ระบุว่า ควรเป็นกิจกรรมที่ถูกกฎหมาย แต่ให้กำหนดกฎเกณฑ์ เช่น จำนวนผู้เล่น วงเงินพนัน สถานที่ เป็นต้น ร้อยละ 14.87 ระบุว่า ควรเป็นกิจกรรมที่ถูกกฎหมาย และร้อยละ 3.87 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.80 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.80 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.28 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.54 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.58 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.94 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.06 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 7.59 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 15.70 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 20.94 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 32.63 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.14 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 94.61 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.72 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.21 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.46 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 22.69 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.29 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.57 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.45 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่าง ร้อยละ 29.21 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.99 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.98 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.74 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.40 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.68 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 9.48 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.90 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.94ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.64 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.62 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.09 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.34 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.99 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 21.02 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.55 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.49 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.88 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 11.68 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 2

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

  • 3

    คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 10 มี.ค. 2567

  • 4

    ผู้ทรงอิทธิพลกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 มี.ค. 2567

  • 5

    อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 27 ก.พ. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th