ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5
อภิสิทธิ์ชนในสังคมไทย
วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อภิสิทธิ์ชนในสังคมไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5 – 7 กรกฎาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการมีอภิสิทธิ์ชนในสังคมไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธี แบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกลุ่มในสังคมที่ชอบทำตัวเป็นอภิสิทธิ์ชน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.80 ระบุว่าเป็น นักการเมืองระดับชาติ/คนใกล้ชิด รองลงมา ร้อยละ 46.88 ระบุว่าเป็น นักการเมืองท้องถิ่น/คนใกล้ชิด ร้อยละ 27.13 ระบุว่าเป็น เศรษฐี คนมีเงิน/คนใกล้ชิด ร้อยละ 20.27 ระบุว่าเป็น ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ/คนใกล้ชิด ร้อยละ 10.52 ระบุว่าเป็น คนในวงการบันเทิง/คนใกล้ชิด ร้อยละ 6.55 ระบุว่าเป็น นักธุรกิจ เจ้าของกิจการขนาดใหญ่/คนใกล้ชิด ร้อยละ 6.33 ระบุว่าเป็น นักเคลื่อนไหวทางการเมือง สังคม ร้อยละ 2.67 ระบุว่าเป็น สื่อมวลชน ผู้บริหารองค์กรสื่อ/คนใกล้ชิด ร้อยละ 1.83 ระบุว่าเป็น นักวิชาการ ผู้มีการศึกษาสูง/คนใกล้ชิด ร้อยละ 1.07 ระบุว่าเป็น เจ้าหน้าที่ หน่วยงานต่างประเทศ/หน่วยงานระหว่างประเทศ ร้อยละ 0.99 ระบุว่าเป็น เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) และร้อยละ 3.81 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้มีคนชอบทำตัวเป็นอภิสิทธิ์ชน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.75 ระบุว่า เชื่อว่าตนเองมีตำแหน่ง อำนาจ รองลงมา ร้อยละ 48.48 ระบุว่า เชื่อว่าตนเองมีเงิน ร้อยละ 21.80 ระบุว่า มีนิสัยเห็นแก่ตัว ร้อยละ 20.35 ระบุว่า เชื่อว่าตนเองมีเส้นสายดี ร้อยละ 14.33 ระบุว่า เชื่อว่าตนเองเป็นคนมีชื่อเสียง เด่นดัง ร้อยละ 4.73 ระบุว่า เชื่อว่ามีคนกลัว/เกรงใจตนเอง ร้อยละ 3.28 ระบุว่า เชื่อว่าตนเอง มีความรู้ดี/การศึกษาสูง ร้อยละ 1.52 ระบุว่า เชื่อว่าตนเองมีความอาวุโสกว่าผู้อื่น ร้อยละ 0.30 ระบุว่า เชื่อว่าตนเองสวย หล่อ และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับสิ่งที่จะทำหากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่มีคนทำตัวเป็นอภิสิทธิ์ชน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.39 ระบุว่า ขอดูสถานการณ์ ก่อนตัดสินใจ รองลงมา ร้อยละ 31.86 ระบุว่า อยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของเราเอง ร้อยละ 11.36 ระบุว่า ขัดขวาง ไม่ยอมปล่อยให้มีใครทำตัวเป็นอภิสิทธิ์ชน ร้อยละ 7.01 ระบุว่า ถ่ายคลิปหรืออัดเสียงเพื่อประจานลง social media และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ทำตัวคล้อยตาม เพื่อประโยชน์ในวันนี้และวันข้างหน้า
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อคำแก้ตัวของอภิสิทธิ์ชนที่น่ารังเกียจที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.73 ระบุว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ รองลงมา ร้อยละ 26.52 ระบุว่า ไม่รู้ว่าผิด ร้อยละ 18.45 ระบุว่า ไม่มีเจตนา ร้อยละ 16.23 ระบุว่า ที่ผ่านมาไม่เห็นมีใครว่าอะไร ร้อยละ 15.32 ระบุว่า ขอโทษ เดี๋ยวจะชดเชย/เยียวยาให้ ร้อยละ 11.13 ระบุว่า เห็นใคร ๆ ก็ทำกัน ร้อยละ 9.60 ระบุว่า ไม่คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่โตอะไร ร้อยละ 8.92 ระบุว่า มีผู้ใหญ่อนุญาตให้ทำ ร้อยละ 8.16 ระบุว่า คิดว่าเป็นสิทธิที่ทำได้ ร้อยละ 2.13 ระบุว่า มีคนบอกว่าทำได้ ไม่เป็นไร และ ร้อยละ 2.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาการมีอภิสิทธิ์ชนในสังคมไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.82 ระบุว่า อาจจะแก้ไขได้ รองลงมา ร้อยละ 33.08 ระบุว่า แก้ไขไม่ได้แน่นอน ร้อยละ 22.94 ระบุว่า แก้ไขได้แน่นอน และร้อยละ 7.16 ระบุว่า อาจจะแก้ไขไม่ได้
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.76 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.84 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.29 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.54 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.57 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.01 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.99 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 8.23 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.78 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.25 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 30.64 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 22.10 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.58 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.67 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.29 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.46 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 24.92 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.10 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.52 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.46 ไม่ระบุสถานภาพ
ตัวอย่างร้อยละ 27.06 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.47 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.00 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.45 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.49 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.82 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.49 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.89ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.18 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.46 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.20 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.20 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.76 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 19.74 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.71 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.69 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 9.76 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 10.90 ไม่ระบุรายได้
ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5