ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 2

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

  • 3

    ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 08 ธ.ค. 2567

  • 4

    ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ธ.ค. 2567

  • 5

    พรรคประชาชนเปิดหน้าชนพรรคเพื่อไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 พ.ย. 2567

อยากได้ใครเป็นผู้ว่ากรุงเทพฯ ครั้งที่ 3

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 3” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,313 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 3 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 30.62 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 2  ร้อยละ 23.84 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 3 ร้อยละ 12.57 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อันดับ 4 ร้อยละ 10.59 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 5 ร้อยละ 5.33 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อันดับ 6 ร้อยละ 3.43 ระบุว่าเป็น น.ส.รสนา โตสิตระกูล อันดับ 7 ร้อยละ 2.82 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือ พรรคก้าวไกล อันดับ 8 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อันดับ 9 ร้อยละ 1.75 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ และจะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 10 ร้อยละ 1.60 ระบุว่า ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) อันดับ 11 ร้อยละ 1.22 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ อันดับ 12 ร้อยละ 1.14 ระบุว่าเป็น นายสกลธี ภัททิยกุล และร้อยละ 1.29 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ผู้สมัครจากพรรคกล้า ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย และผู้สมัครจากพรรคเสรี    รวมไทย

และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือ พรรคก้าวไกล ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ และผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ  มีสัดส่วนลดลง ในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย น.ส.รสนา โตสิตระกูล  ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายสกลธี ภัททิยกุล และจะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงปัญหาที่ประชาชนอยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ เร่งแก้ไขมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.64 ระบุว่า ปัญหาการจราจร รองลงมา ร้อยละ 35.72 ระบุว่า ปัญหาสุขภาพ/สาธารณสุข ร้อยละ 31.68 ระบุว่า ปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง ร้อยละ 27.42 ระบุว่า ปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 17.29 ระบุว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นละออง น้ำเสีย ร้อยละ 16.91 ระบุว่า ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ ร้อยละ 16.15 ระบุว่า ปัญหาเรื่องขยะและความสะอาด ร้อยละ 15.16 ระบุว่า ปัญหาถนน/ทางเท้า ชำรุด ร้อยละ 8.23 ระบุว่า ปัญหาการศึกษา  ร้อยละ 6.17 ระบุว่า ปัญหาหาบเร่ แผงลอย ร้อยละ 2.89 ระบุว่า ปัญหาเรื่องเด็กและเยาวชน ร้อยละ 1.07 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาระบบขนส่งสาธารณะ ปัญหาไฟริมทางไม่เพียงพอ ปัญหาคนเร่ร่อน และปัญหาการจัดสรรที่อยู่อาศัยในเขตชุมชนแออัด และร้อยละ 0.15 ระบุว่า เฉย ๆ/ ไม่ตอบ/ไม่สนใจ    

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 100.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ตัวอย่างร้อยละ 48.90 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.10 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.71 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 13.94 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 19.12 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.44 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 28.79 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 93.37 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.95 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.37   นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.31 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่างร้อยละ 31.76 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.51 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.43 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 15.69 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 24.14 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.54  จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 41.43 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.59 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.61 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 7.84 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 26.43 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 25.97ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 0.23 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 8.23 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 28.41 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.13 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.76 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 25.21 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 5.79 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 19.65 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 15.46 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 12.41 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 13.56 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 2

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

  • 3

    ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 08 ธ.ค. 2567

  • 4

    ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ธ.ค. 2567

  • 5

    พรรคประชาชนเปิดหน้าชนพรรคเพื่อไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 พ.ย. 2567

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th