ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 ม.ค. 2568

  • 2

    การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 ม.ค. 2568

  • 3

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 ม.ค. 2568

  • 4

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 5

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

COVID-19 รอบ 3

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “COVID-19 รอบ 3” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 19 และ 27 – 28 พฤษภาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา   และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 รอบ 3 การสำรวจอาศัย  การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความกลัวของประชาชนว่าจะติดเชื้อไวรัส COVID-19 จากการแพร่ระบาดในขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 32.09 ระบุว่า มีความกลัวมาก เพราะ เชื้อไวรัส COVID-19 มีการเเพร่กระจายอย่างรวดเร็วมาก จำนวนผู้ติดเชื้อมีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อง่าย ร้อยละ 37.96 ระบุว่า ค่อนข้างมีความกลัว เพราะ ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 มีจำนวนมากกว่ารอบที่แล้ว จำเป็นต้องเดินทางไปทำงานต้องเจอกับผู้คนจำนวนมาก และอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ร้อยละ 17.00 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความกลัว เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ดูแลและป้องกันตนเองดี ไม่ไปพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง และได้ทำการจองการฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว และร้อยละ 12.95 ระบุว่า ไม่มีความกลัวเลย เพราะ ไม่ได้ออกไปไหนอยู่แต่ที่พักอาศัย ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และประชาชนบางส่วนได้รับวัคซีนป้องกันแล้ว และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ COVID-19 รอบใหม่ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยมีความกลัว และไม่มีความกลัวเลย มีสัดส่วนลดลง ซึ่งในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า มีความกลัวมาก มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

ด้านความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินการของรัฐบาล ตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง พฤษภาคม 2564 ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 รอบ 3 พบว่า ร้อยละ 12.20 ระบุว่า พอใจมาก เพราะ รัฐบาลตั้งใจทำงานและดูแลประชาชนอย่างเต็มที่ และมีนโยบายที่ดีเพื่อช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 33.31 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ เพราะ เข้าใจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ว่าเป็นทั่วโลก มีการจัดหาวัคซีนมาให้กับประชาชน และรัฐบาลพยายามทำงานเต็มที่แล้ว ร้อยละ 30.49 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ เพราะ  มีมาตรการการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ล่าช้า การสื่อสารกับประชาชนได้ไม่ดีทำให้ประชาชนส่วนมากยังไม่เข้าใจมาตรการต่าง ๆ และการจัดหาวัคซีนมีความล่าช้ามาก ร้อยละ 22.56 ระบุว่า ไม่พอใจเลย เพราะ การให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนสร้างความสับสนให้กับประชาชน มาตรการการป้องกันไม่เข้มงวดเท่ากับรอบก่อน การบริหารจัดการวัคซีนมีความล่าช้า และไม่สามารถเลือกวัคซีนเองได้ และร้อยละ 1.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และและเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ COVID-19 รอบใหม่ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พอใจมาก และค่อนข้างพอใจ มีสัดส่วนลดลง ซึ่งในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ และไม่พอใจเลย มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

สำหรับการตัดสินใจของประชาชนเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.04 ระบุว่า จะรับบริการฉีดวัคซีนฟรีจากรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 17.99 ระบุว่า จะไม่ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ร้อยละ 15.93 ระบุว่า จะยอมเสียเงินเองในการฉีดวัคซีนตามโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการอนุญาตจากรัฐ ร้อยละ 3.73 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 0.31 ระบุว่า จะไปฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ในต่างประเทศ และและเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ COVID-19 รอบใหม่ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า จะรับบริการฉีดวัคซีนฟรีจากรัฐบาล และจะไม่ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 มีสัดส่วนลดลง ซึ่งในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า จะยอมเสียเงินเอง  ในการฉีดวัคซีนตามโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการอนุญาตจากรัฐ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงยี่ห้อวัคซีนที่ประชาชนต้องการหากต้องฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.71  ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ รองลงมา ร้อยละ 20.58 ระบุว่า แอสตร้าเซนเนก้า ร้อยละ 19.05 ระบุว่า ซิโนแวค ร้อยละ 14.56 ระบุว่า ไฟเซอร์ ร้อยละ 4.57 ระบุว่า โมเดอร์นา ร้อยละ 3.13 ระบุว่า จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ร้อยละ 0.46 ระบุว่า สปุตนิก วี และร้อยละ 6.94 ระบุว่า ยังไงก็จะไม่ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.76 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.69 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.14 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.77 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.64 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.01 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.99 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 8.54 มีอายุ 15 – 25 ปี ร้อยละ 14.10 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.65 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.14 มีอายุ 46 – 59 ปี     และร้อยละ 21.57 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.27 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.13 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.14 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.46 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 24.47 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.10 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.90 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 31.48 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.22 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.71 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 22.86 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.04 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.69 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 9.83 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.94 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.44ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.56 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.87 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 23.17 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.43 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.76 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 23.40 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.17 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 20.66 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.66 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 3.58 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 6.48 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.05 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 ม.ค. 2568

  • 2

    การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 ม.ค. 2568

  • 3

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 ม.ค. 2568

  • 4

    เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 22 ธ.ค. 2567

  • 5

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th