ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

อยากเล่นน้ำสงกรานต์…กลัวโควิด-19 หรือไม่

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อยากเล่นน้ำสงกรานต์…กลัวเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 16 มีนาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค  ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,315 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์ 2564 ของรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีหากรัฐบาลอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์ 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.73 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์ทุกพื้นที่ รองลงมา ร้อยละ 20.45 ระบุว่า ควรอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์เฉพาะพื้นที่ที่ไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในรอบ 2 ร้อยละ 17.87 ระบุว่า ควรอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์ได้ทุกพื้นที่อย่าง New Normal เช่น สวมเฟซชิลด์ แว่นตากันน้ำ ชุดกันฝน ร้อยละ 10.80 ระบุว่า ควรอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์ได้ทุกพื้นที่อย่างอิสระ และร้อยละ 7.15 ระบุว่า ควรอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์เฉพาะพื้นที่ที่ไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในรอบ 14 วันที่ผ่านมา

ด้านความกังวลของประชาชนต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ถ้ารัฐบาลอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์ 2564 พบว่า ร้อยละ 26.54 ระบุว่า กังวลมาก เพราะ การกลับภูมิลำเนา การรวมตัวของประชาชนเพิ่มมากขึ้นทำให้ละเลยในการเว้นระยะห่างทางสังคม ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูง ที่จะติดเชื้อ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ ร้อยละ 38.02 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล เพราะ การเดินทางเข้ามาเล่นน้ำสงกรานต์จากหลายพื้นที่ทำให้ควบคุมไม่ทั่วถึง อาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนมากับน้ำ ประชาชนบางกลุ่ม ยังละเลยในการป้องกันตนเอง ถึงแม้จะมีวัคซีนแต่ก็ยังไม่ปลอดภัย 100% และอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ในรอบ 3 ร้อยละ 18.78 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่มีการดูแลและป้องกันตนเองอย่างดี หลีกเลี่ยงไม่ไปเล่นน้ำสงกรานต์ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ภาครัฐมีมาตรการควบคุมป้องกันที่ดี และไม่ได้อาศัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 และร้อยละ 16.66 ระบุว่า ไม่กังวลเลย เพราะ ภาครัฐมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ดี มั่นใจในการทำงานบุคลากรทางการเเพทย์ และประชาชนส่วนใหญ่ไม่ออกมาเล่นน้ำสงกรานต์

สำหรับวิธีป้องกันตนเองหากรัฐบาลอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์ 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.28 ระบุว่า สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า รองลงมา ร้อยละ 35.36 ระบุว่า รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร ร้อยละ 31.94 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการสัมผัสตัว ร้อยละ 26.16 ระบุว่า สวมเฟซชิลด์ ร้อยละ 23.12 ระบุว่า ห้ามดื่มสุราและของมึนเมา ร้อยละ 19.16 ระบุว่า ห้ามประแป้ง ร้อยละ 13.69 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการให้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก ร้อยละ 10.80 ระบุว่า ห้ามสาดน้ำ ร้อยละ 10.65 ระบุว่า สวมชุดกันฝน ร้อยละ 10.27 ระบุว่า สวมแว่นตากันน้ำ และร้อยละ 0.15 ระบุว่า วัดอุณหภูมิก่อนเข้าสถานที่เล่นน้ำ

ส่วนเรื่องที่ประชาชนกังวลมากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.95 ระบุว่า อุบัติเหตุทางถนน รองลงมา ร้อยละ 38.17 ระบุว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ที่มากขึ้น ร้อยละ 15.29 ระบุว่า การท่องเที่ยวที่ไม่คึกคัก เศรษฐกิจซบเซา และ ร้อยละ 2.59 ระบุว่า การเกิดอาชญากรรม

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการให้ความสำคัญระหว่างการเล่นน้ำสงกรานต์ 2564 กับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.28 ระบุว่า ยอมหยุดเล่นน้ำสงกรานต์ 2564 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ขณะที่ ร้อยละ 15.29 ระบุว่า ยอมเสี่ยง กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 เพื่อให้ได้เล่นน้ำสงกรานต์ 2564 และร้อยละ 2.43 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าควรเลือกอะไรก่อนดี

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.82 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.63 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.10 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.69 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.76 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.90 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.10 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 10.49 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 13.69 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.90 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 29.81 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 24.11 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 96.05 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.81 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.61 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 25.32 สถานภาพโสด ร้อยละ 71.79 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.51 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.38 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 31.48 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.16 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.76 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 22.05 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.87 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.68 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 9.43 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.76 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.37ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.70 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.43 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.06 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 4.49 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.76 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 22.59 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.65 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.19 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.17 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท  ร้อยละ 5.70 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 8.14 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th