ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 2

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 3

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 4

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 5

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

วันมาฆบูชาและวันกตัญญูแห่งชาติ

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “วันมาฆบูชาและ วันกตัญญูแห่งชาติ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,314 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับวันมาฆบูชาและวันกตัญญูแห่งชาติ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการประกาศให้วันมาฆบูชาเป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ” พบว่า ร้อยละ 83.56 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ ขณะที่ ร้อยละ 16.44 ระบุว่า ทราบ และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจวันมาฆบูชา โอวาทปาฏิโมกข์: หลักธรรมที่ควรปฏิบัติภายใต้สังคมไทยในยุคปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ทราบมีสัดส่วนลดลง ซึ่งในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ                      มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อคำกล่าวที่ว่า “ทุกวันนี้คนไทยยึดถือความกตัญญู ต่อบุพการี น้อยลง” พบว่า ร้อยละ 44.37 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 24.96 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 11.57 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 18.04 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และร้อยละ 1.06 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ  

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อคำกล่าวที่ว่า “ทุกวันนี้คนไทยยึดถือความกตัญญู ต่อผู้มีพระคุณ (ที่ไม่ใช่บุพการี) น้อยลง” พบว่า ร้อยละ 40.41 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 27.55 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 13.24 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 18.11 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ

ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อคำกล่าวที่ว่า “ทุกวันนี้คนไทยยึดถือความกตัญญู ต่อแผ่นดิน/ประเทศ น้อยลง” พบว่า ร้อยละ 37.44 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 21.77 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 12.18 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 24.81 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และร้อยละ 3.80 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ

สำหรับการรับรู้ของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาใน “วันมาฆบูชา” พบว่า ร้อยละ 51.92 ระบุว่า ทราบ (สามารถระบุได้ถูกต้องว่า เป็นวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 และมีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6 และเป็นพระสงฆ์ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรง จากพระพุทธเจ้า (เอหิภิกขุอุปสัมปทา)) ขณะที่ ร้อยละ 48.08 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจวันมาฆบูชา โอวาทปาฏิโมกข์: หลักธรรมที่ควรปฏิบัติภายใต้สังคมไทยในยุคปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ  มีสัดส่วนลดลง ซึ่งในขณะที่ผู้ที่ระบุว่า ทราบ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น       

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธกับคำกล่าวที่ว่า “ทุกวันนี้ชาวไทยพุทธห่างไกลศาสนา” พบว่า ร้อยละ 35.28 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 27.36 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 14.48 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 20.24 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และ ร้อยละ 2.64 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.75 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.73 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.34 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.56 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.62 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.93 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.07 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 7.91 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 16.21 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.39 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.88 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 21.61 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.13 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.88 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.99 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 22.07 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.98 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.26 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.69 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 31.96 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.95 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.70 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.06 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.19 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.14 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 8.60 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.92 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.70ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.15 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.73 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.03 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.80 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.07 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 20.09 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.93 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 22.75 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 9.28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.33 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท  ร้อยละ 5.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 9.06 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 2

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 3

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 4

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 5

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th