ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 2

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

  • 3

    คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 10 มี.ค. 2567

  • 4

    ผู้ทรงอิทธิพลกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 มี.ค. 2567

  • 5

    อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 27 ก.พ. 2567

เครื่องแบบนักเรียน จะเอาอย่างไร?

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เครื่องแบบนักเรียน จะเอาอย่างไร?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ  ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,332 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อเสนอของกลุ่มนักเรียนเลวที่ให้ยกเลิกการบังคับใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้  ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อเครื่องแบบนักเรียน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.15 ระบุว่า เพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย รองลงมา ร้อยละ 24.47 ระบุว่า เป็นการบ่งบอกถึงสถานศึกษาของนักเรียน ร้อยละ 7.96 ระบุว่า เป็นการป้องกันการแอบอ้างเป็นนักเรียน ร้อยละ 7.88 ระบุว่า เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน ร้อยละ 6.31 ระบุว่า ทำให้ผู้ปกครองประหยัด ร้อยละ 4.58 ระบุว่า เป็นความภาคภูมิใจของนักเรียน / ผู้ปกครอง ร้อยละ 4.28 ระบุว่า เพิ่มภาระด้านการเงินให้ผู้ปกครอง ร้อยละ 3.83 ระบุว่า เป็นการจำกัดเสรีภาพของนักเรียน ร้อยละ 1.35 ระบุว่า ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทุก ๆ โอกาส ร้อยละ 1.13 ระบุว่า เป็นการแบ่งชนชั้นระหว่างโรงเรียน ร้อยละ 0.98 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 0.75 ระบุว่า ทำให้นักเรียนไม่ปลอดภัย และร้อยละ 0.60 ระบุว่า เป็นเครื่องหมายของการกดขี่ / อำนาจนิยม

ด้านความคิดเห็นต่อข้อเสนอของกลุ่มนักเรียนเลวที่ให้ยกเลิกการบังคับใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน พบว่า ส่วนใหญ่  ร้อยละ 69.67 ระบุว่า การบังคับให้ใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียนควรมีต่อไป รองลงมา ร้อยละ 12.09 ระบุว่า ในรอบสัปดาห์ควรอนุญาตให้ใส่ชุดอื่น ๆ (ชุดไพรเวต) ไปโรงเรียนได้บ้าง ร้อยละ 7.06 ระบุว่า ควรให้เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียนอยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารแต่ละโรงเรียน ร้อยละ 5.10 ระบุว่า สมควรให้นักเรียนได้มีอิสระที่จะเลือกว่าจะใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียนหรือไม่ ร้อยละ 3.23 ระบุว่า ควรให้เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียนเป็นไปตามประชามติของนักเรียนในแต่ละโรงเรียน ร้อยละ 2.40 ระบุว่า สมควรยกเลิกการใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน และร้อยละ 0.45 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ซึ่งเมื่อถามถึงจำนวนวันจากผู้ที่ระบุว่าในรอบสัปดาห์ควรอนุญาตให้ใส่ชุดอื่น ๆ (ชุดไพรเวต) ไปโรงเรียนได้บ้าง พบว่า ส่วนใหญ่  ร้อยละ 50.93 ระบุว่า 1 วันต่อสัปดาห์ รองลงมา ร้อยละ 37.27 ระบุว่า 2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 9.94 ระบุว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 1.86  ระบุว่า 4 วันต่อสัปดาห์   

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มนักเรียนเลว พบว่า ร้อยละ 7.66 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นสิทธิส่วนบุคคล ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด ร้อยละ 13.51 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ เป็นสิทธิของกลุ่มนักเรียนที่จะเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็น ร้อยละ 21.10 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากหน้าที่หลักของนักเรียนคือการเรียนหนังสือไม่ใช่ออกมาชุมนุมประท้วง ร้อยละ 51.50 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ควรใช้เวลาทุ่มเทให้กับการเรียนจะดีกว่า และร้อยละ 6.23 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ    

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.78 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.83 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.47 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.41 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.51 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.25 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.75 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 7.21 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 15.17 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.22 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.78 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 21.62 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 96.10 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.55 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.60 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.75 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 19.89 สถานภาพโสด ร้อยละ 75.83 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.53 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.75 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 28.38 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.06 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.81 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.50 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.20 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.05 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 9.98 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.94 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.88ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.24 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.79 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.82 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.15 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 19.97 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.35 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.38 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.41 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 6.23 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 6.98 ไม่ระบุรายได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

  • 2

    ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 มี.ค. 2567

  • 3

    คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 10 มี.ค. 2567

  • 4

    ผู้ทรงอิทธิพลกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 03 มี.ค. 2567

  • 5

    อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 27 ก.พ. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th