ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

ใคร ? ควรดูแลผู้สูงอายุไทยให้อยู่ดีมีสุข

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

เนื่องในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ตรงกับ “วันผู้สูงอายุ” ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ “ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ใคร ? ควรดูแลผู้สูงอายุไทยให้อยู่ดีมีสุข” กรณีศึกษาจากผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพทั่วทุกภูมิภาค  รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,245 หน่วยตัวอย่าง ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 – 3 เมษายน 2557 เกี่ยวกับความต้องการของผู้สูงอายุในการบริการและดูแลผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ จากสถาบัน หน่วยงาน และองค์กร อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล”  ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยแบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค* จากนั้นจึงสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากผลการสำรวจ ความคิดเห็นของผู้สูงอายุเกี่ยวกับสถาบัน/หน่วยงานประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.14 ระบุว่า ควรเป็นสถาบันครอบครัว รองลงมา ร้อยละ 40.00 ระบุว่า ควรเป็นหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 5.24 ระบุว่า ควรเป็นหน่วยงานภาคธุรกิจ/เอกชน ร้อยละ 1.55  ระบุว่า อื่น ๆ เช่น วัด มูลนิธิ องค์กรเอกชน และร้อยละ 0.07 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ

 

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของผู้สูงอายุ ว่า ใคร ? ในสถาบันครอบครัว ที่ควรเป็นดูแลผู้สูงอายุที่ดีที่สุด พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.33 ระบุว่า ควรเป็นลูกสาว ร้อยละ 25.86 ระบุว่า ควรเป็นลูกชาย ร้อยละ 15.34 ระบุว่า ตัวเอง ร้อยละ 9.24  ระบุว่า คู่สมรส (สามี/ภรรยา) ของตนเอง ร้อยละ 7.47 ระบุว่า ควรเป็นลูก ๆ และทุก ๆ คนในครอบครัว  ร้อยละ 4.18  ระบุว่า ควรเป็นญาติ (พี่-น้อง / ลูกพี่ลูกน้อง) ร้อยละ 3.70 ระบุว่า ควรเป็นหลาน และร้อยละ 0.88 ระบุว่า อื่น ๆ เช่น ลูกเขย ลูกสะใภ้ คนใช้ แม่บ้าน เพื่อนบ้าน

 

ด้านความต้องการของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ จากภาครัฐ เกี่ยวกับการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.82 ระบุว่า ต้องการบริการทางการแพทย์/รักษาพยาบาล รองลงมา ร้อยละ 14.08 ระบุว่า ต้องการบริการด้านการฟื้นฟูบำบัดทางกายภาพ (รวมทั้ง สถานที่ออกกำลังกาย) ร้อยละ 11.30 ระบุว่า ต้องการบริการด้านการเดินทาง (รถบัส รถตู้ หรือรถแท็กซี่สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ)  ร้อยละ 8.55  ระบุว่า ต้องการบริการด้านการปรึกษาทางการเงิน (เช่น ให้คำแนะนำการออม การซื้อกองทุน) ร้อยละ 7.62 ระบุว่า ต้องการบริการบ้านพัก ที่อยู่อาศัย (เช่น การจัดสรร คอนโด หรือ บ้านสำหรับครอบครัวผู้สูงอายุ) ร้อยละ 7.50 ระบุว่า ต้องการบริการด้านโภชนาการ (เช่น จัดส่งอาหารสำหรับผู้สูงอายุในลักษณะของการผูกปิ่นโต ร้อยละ 6.23 ระบุว่า ต้องการบริการด้านการปรึกษาทางจิตใจ (เช่น มีจิตแพทย์เฉพาะทาง) ร้อยละ 1.51 ระบุว่า ต้องการบริการในด้านอื่น ๆ เช่น การเพิ่มสวัสดิการเบี้ยผู้สูงอายุให้มากขึ้น เงินบำเน็จบำนาญ การฝึกอาชีพเสริม หรืองานอดิเรก ขณะที่ร้อยละ 7.39 ระบุว่า ไม่ต้องการ เพราะสามารถดูแลตัวเองได้ หรือมีลูกหลานและคนในครอบครัวคอยดูแลอยู่

 

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่เคยไปใช้บริการในด้านต่างๆ กับหน่วยงานของภาครัฐ เกี่ยวกับปัญหาสำคัญที่ประสบพบเจอ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.87 ระบุว่า ทุกอย่างดี ไม่มีปัญหา รองลงมา ร้อยละ 24.74 ระบุว่า ขาดความเอาใส่ใจในการดูแล/ให้บริการของบุคลากร ไม่เป็นมืออาชีพ ไม่มีมาตรฐาน ล่าช้า ร้อยละ 16.26 ระบุว่า หน่วยงานที่ให้บริการ ไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง และร้อยละ 2.12  ระบุว่า ค่าใช้จ่ายแพงเกินไป  

 

ด้านความต้องการของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ จากภาคธุรกิจ/เอกชน เกี่ยวกับการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.45 ระบุว่า ไม่ต้องการ เพราะสามารถดูแลตัวเองได้ หรือมีลูกหลานและคนในครอบครัวคอยดูแลอยู่  รองลงมา ร้อยละ 27.49 ระบุว่า ต้องการบริการทางการแพทย์/รักษาพยาบาล ร้อยละ 9.87 ระบุว่า ต้องการบริการด้านการเดินทาง (รถบัส รถตู้ หรือรถแท็กซี่สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ) ร้อยละ 8.97 ระบุว่า ต้องการบริการด้านการปรึกษาทางการเงิน (เช่น ให้คำแนะนำการออม การซื้อกองทุน) ร้อยละ 8.02 ระบุว่า ต้องการบริการด้านการฟื้นฟูบำบัดทางกายภาพ (รวมทั้ง สถานที่ออกกำลังกาย) ร้อยละ 5.89 ระบุว่า ต้องการบริการบ้านพัก ที่อยู่อาศัย (เช่น การจัดสรร คอนโดหรือบ้านสำหรับครอบครัวผู้สูงอายุ) ร้อยละ 5.63 ระบุว่า ต้องการบริการด้านโภชนาการ (เช่น จัดส่งอาหารสำหรับผู้สูงอายุในลักษณะของการผูกปิ่นโต  ร้อยละ 5.31 ระบุว่า ต้องการบริการด้านการปรึกษาทางจิตใจ (เช่น มีจิตแพทย์เฉพาะทาง)  และร้อยละ 0.37 ระบุว่า ต้องการบริการในด้านอื่นๆ เช่น สวัสดิการต่างๆ  ส่วนลดค่าเข้าบริการต่าง ๆ การฝึกอาชีพเสริม การจัดกิจกรรมสังสรรค์

 

ท้ายสุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่เคยไปใช้บริการในด้านต่าง ๆ กับหน่วยงานของภาคธุรกิจ/เอกชนเกี่ยวกับปัญหาสำคัญที่ประสบพบเจอ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.91 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายแพงเกินไป รองลงมา ร้อยละ 37.38 ระบุว่า ทุกอย่างดี ไม่มีปัญหา ร้อยละ 2.88 ระบุว่า การบริการไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน และร้อยละ 1.83 ระบุว่า บุคลากรไม่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ

 

หมายเหตุ * ใช้หลักการแบ่งภูมิภาคตามสำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th