ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

การตั้งจังหวัดบัวใหญ่

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การตั้งจังหวัดบัวใหญ่ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18 – 19 กันยายน 2557 กรณีศึกษาจากประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา กระจายทุกอำเภอ ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,228 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเสนอแยก 8 อำเภอ ในจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 1. อ. บัวใหญ่  2. อ. บ้านเหลื่อม 3. อ. ประทาย  4. อ. คง  5. อ. โนนแดง  6. อ. แก้งสนามนาง 7. อ. บัวลาย และ 8. อ. สีดา ออกเป็น จังหวัดบัวใหญ่ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแยก 8 อำเภอ ในจังหวัดนครราชสีมา ออกมาเป็น จังหวัดบัวใหญ่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.26 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ต้องการให้เป็นจังหวัดเดียวกัน ถือว่าทุกคนเป็นลูกหลานย่าโมด้วยกันทั้งสิ้น ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เหตุผลที่ต้องการแยกยังไม่มีน้ำหนักพอว่าจะแยกไปเพราะด้วยเหตุใดหรือมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง ควรแก้ไขด้วยการพัฒนาสร้างความเจริญในพื้นที่ เช่น การสร้างเส้นทางการคมนาคม ระหว่างอำเภอ จังหวัด รองลงมา ร้อยละ 38.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเดินทางมาติดต่อราชการสำหรับคนที่อยู่ห่างจากอำเภอเมือง เนื่องจากจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และง่ายต่อการบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณ ประชาชนบางส่วนต้องการให้มีการพัฒนาในพื้นที่ เป็นการกระจายอำนาจและความเจริญไปยังพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ ร้อยละ 13.03 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ และ ร้อยละ 1.87 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ อย่างไรก็ได้

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำประชามติกับประชาชนในพื้นที่ กรณีการจัดตั้งหวัดใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.76 ระบุว่า ควรทำประชามติ เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และต้องคำนึงถึงเสียงส่วนใหญ่ เป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร และทราบถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง  มีเพียง ร้อยละ 2.52 ที่ ระบุว่า ไม่ควรทำประชามติ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองบประมาณ และทางการน่าจะมีการพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย หรือความจำเป็นมาก่อนหน้าแล้ว ก็ลงมติความเห็นชอบไปเลยว่าจะจัดตั้งจังหวัดใหม่หรือไม่ และใช้เหตุผลในการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน อีกทั้งยังเกรงว่าเสียงส่วนใหญ่ของการทำประชามติ จะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวคิดของตนเอง ขณะที่ ระบุว่า 6.52 ไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 2.20 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ อย่างไรก็ได้

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th