ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

ที่มาของนายกรัฐมนตรี และรัฐบาล

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ที่มาของนายกรัฐมนตรี และรัฐบาล ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4 – 5 ธันวาคม 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา  และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับรูปแบบการคัดเลือกหรือที่มาของนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และคณะรัฐมนตรี ว่าควรเป็นอย่างไร อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error : S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อที่มาของนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.80 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน รองลงมา ร้อยละ 20.27 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 9.10 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. และได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 1.68 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง จะมีที่มาอย่างไรก็ได้ แต่ขอให้เข้ามาแล้วตั้งใจทำงาน สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ และเป็นคนดี ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่โกงกินบ้านเมือง และ ร้อยละ 2.15 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.52 ระบุว่า ควรเลือกแบบเขตละหนึ่งคน (One Man One Vote) รองลงมา ร้อยละ 20.11 ระบุว่า ควรเลือกแบบเขตใหญ่หลายคนแต่ไม่เกิน 3 คนต่อหนึ่งเขต (ระบบพวงใหญ่) ร้อยละ 16.52 ระบุว่า ควรเลือกแบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ ร้อยละ 13.41 ระบุว่า ควรเลือกแบบบัญชีรายจังหวัด ร้อยละ 11.65 ระบุว่า ควรเลือกตามกลุ่มอาชีพและกลุ่มวิชาชีพ ร้อยละ 3.75 ระบุว่า ควรเลือกแบบบัญชีรายภาค และ ร้อยละ 7.26 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อที่มาของคณะรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.07 ระบุว่า คณะรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน รองลงมา ร้อยละ 24.50 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีควรเป็นผู้เลือกคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 0.64 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ มาจากทั้งสองรูปแบบ ให้แต่ละกระทรวงคัดเลือก สมาชิกในสภาเป็นผู้คัดเลือก มีคณะกรรมการกลางคัดเลือก และ ร้อยละ 2.79 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th