ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

สมาชิกวุฒิสภากับการปฏิรูปการเมือง

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “สมาชิกวุฒิสภากับการปฏิรูปการเมือง ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11 – 12 ธันวาคม 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับที่มาและหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ว่าควรเป็นอย่างไร อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และ มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความจำเป็นที่จะต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ภายหลังการปฏิรูประบบการเมืองไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.36 ระบุว่า ระบบการเมืองไทยจำเป็นจะต้องมีสมาชิกวุฒิสภา ขณะที่ ร้อยละ 24.64 ระบุว่า ระบบการเมืองไทยไม่จำเป็นจะต้องมีสมาชิกวุฒิสภา และ ร้อยละ 4.00 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.08 ระบุว่า ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเท่านั้น รองลงมา ร้อยละ 31.44 ระบุว่า ส.ว. มาจากการสรรหา และ มาจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 5.04 ระบุว่า ส.ว. ต้องมาจากการสรรหาเท่านั้น ร้อยละ 0.32 ระบุว่า ไม่ควรมี ส.ว. ร้อยละ 1.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่ออำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.20 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 38.96 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการเสนอกฎหมาย ร้อยละ 36.00 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 28.80 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการร่วมอภิปายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล ร้อยละ 14.96 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลในการเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 13.28 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ร้อยละ 8.56 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลในการเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ร้อยละ 7.44 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลในการเข้าดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กรของรัฐ ร้อยละ 3.12 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ อื่น ๆ เช่น ตรวจสอบ ควบคุม และกำกับการทำงานของรัฐบาล คณะรัฐมนตรี ส.ส. นักการเมือง พรรคการเมือง หน่วยงานองค์กรอิสระทางการเมือง เป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐสภาอย่างแท้จริง พร้อมเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนด้วย และ ร้อยละ 5.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th