ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

ที่มา ส.ส. ส.ว. และนายกรัฐมนตรี

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ที่มา ส.ส. ส.ว. และนายกรัฐมนตรี ทำการสำรวจระหว่างวันที่  26 – 28 ธันวาคม 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,261 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการสรรหาและที่ไปที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และนายกรัฐมนตรี ในประเด็นต่าง ๆ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error : S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้มี ส.ส.จำนวน 450 คน  แบ่งเป็นระบบเขตเลือกตั้ง 250 คน และระบบสัดส่วน 200 คน  พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.74 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ การนับคะแนนระบบเขตเลือกตั้งทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก และการมีส.ส. ระบบเขตน้อยลงเป็นการช่วยลดปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงรองลงมา  ร้อยละ 18.87 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ถือว่ายังมีจำนวน ส.ส. มากเกินไปและต้องการ ส.ส. จำนวนไม่มาก แต่มีคุณภาพ ไม่มีการทุจริตคอร์รัปชัน ในขณะที่บางส่วนบอกว่ามีน้อยเกินไปและอาจจะทำให้ดูแลประชาชนได้ไม่ทั่วถึง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งบอกว่าถ้าเป็นไปได้ ควรมีแค่ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมด เพียงอย่างเดียว  และ ร้อยละ 10.39 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ให้มีการแบ่งโซนพื้นที่เลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน เป็น 8 กลุ่ม โดยใช้ภูมิภาคเป็นตัวแบ่งเขต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.37 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ สามารถสรรหาบุคคลได้อย่างทั่วถึง ช่วยลดความขัดแย้งในภาคส่วนต่าง ๆ ส.ส. ที่เป็นคนในพื้นที่สามารถเข้าใจถึงปัญหาและสะท้อนเสียงของประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี รองลงมา ร้อยละ 24.27 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ในบางพื้นที่ที่มีประชากรน้อย อาจจะไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม และเกิดความแตกแยก ขาดความสามัคคี ควรแบ่งตามระบบเดิมจะดีกว่า และ ร้อยละ 9.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดว่า ผู้สมัคร ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.66 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ จะได้ไม่ต้องยึดติดกับพรรคการเมืองหรือเกิดการเล่นพรรคเล่นพวกมากเกินไป เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลอิสระจากหลากหลายสาขาอาชีพ ที่มีความรู้ ความสามารถ เข้ามาเป็นตัวแทนประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาประเทศ ช่วยลดการสร้างอำนาจหรือการแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเช่นที่ผ่านมา รองลงมา  ร้อยละ 30.93 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ อาจจะทำให้การทำงานการแก้ไขปัญหาประเทศค่อนข้างลำบาก เพราะต้องทำงานกันเป็นทีม หากไม่สังกัดพรรคการเมือง ประชาชนจะไม่ทราบถึงนโยบายต่าง ๆ ในการทำงานที่แน่ชัด ควรมีที่ไปที่มาโดยมีพรรคการเมือง เป็นฐานเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและการทำงาน และ ร้อยละ 3.41 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดว่า นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ส.ส. ในสภาฯ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.36 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ มองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย มิได้เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเห็นชอบหรือเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง เป็นการใช้อำนาจผูกขาดจาก ส.ส. มากเกินไป จนละเลยเสียงของประชาชน รองลงมา  ร้อยละ 34.58 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ถ้ามาจากการเลือกตั้งโดยตรง สุดท้ายก็เกิดการทุจริตการซื้อเสียงเพื่อให้ได้ตำแหน่ง ซึ่ง ส.ส. ควรสรรหาผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ หรืออาจเป็นอดีตนักการเมืองเก่า ข้าราชการ นักการเมืองอิสระที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและ ร้อยละ 2.06 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ว่า สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีจำนวนไม่เกิน 200 คน โดยมาจากการสรรหา 4 กลุ่ม และเลือกตั้งทางอ้อม 1 กลุ่ม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.24 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ต้องการให้ ส.ว. มาจากหลากหลายกลุ่มสาขาอาชีพ ที่มีความรู้ ความสามารถ มากด้วยคุณภาพ เกิดความคิดใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศชาติ หากมีการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในสัดส่วนที่มากเกินไปหรือทั้งหมด ก็ยังคงมีปัญหาการทุจริตซื้อสิทธิ์ขายเสียงเช่นเดิม รองลงมา ร้อยละ 35.85 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ส.ว. ควรมาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งหมด หากเป็นการสรรหา อาจมีการใช้ระบบพวกพ้องหรือเกิดการซื้อขายตำแหน่งกัน และ ร้อยละ 9.91 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th