ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

องค์กรสิทธิมนุษยชน

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “องค์กรสิทธิมนุษยชน ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5 – 6 กุมภาพันธ์ 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำงานขององค์กรสิทธิมนุษยชน อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 22.06 ระบุว่า พึงพอใจอย่างมาก  ร้อยละ 46.92  ระบุว่า ค่อนข้างพึงพอใจ  ร้อยละ 15.91 ระบุว่า ไม่ค่อยพึงพอใจ  ร้อยละ 7.84 ระบุว่า ไม่พึงพอใจเลย  และร้อยละ 7.27 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ ซึ่งในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ค่อนข้างพึงพอใจ – พึงพอใจอย่างมาก ให้เหตุผลว่า เป็นหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือ และดูแลประชาชนเป็นอย่างดี และมีผลการดำเนินงานปรากฎให้เห็นเป็นประจำ โดยเฉพาะ การช่วยเหลือเด็กและสตรี ขณะผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยพึงพอใจ – ไม่พึงพอใจเลย ให้เหตุผลว่า การบริการยังไม่ทั่วถึง มีการทำงานไม่เป็นกลาง แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ประกอบกับมีปัญหาและอุปสรรคอย่างมาก จึงทำให้ยังไม่ค่อยมีผลงานที่เป็นรูปธรรม

 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ให้ควบรวม ระหว่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็น "ผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิของประชาชน" พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.00 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ จะช่วยให้การติดต่อดำเนินการ สามารถทำได้สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเป็นการลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน ยังช่วยถ่วงดุลการทำงานของแต่ละฝ่าย ทำให้มีการประสานงานและเชื่อมโยงข้อมูลกัน ร้อยละ 34.93 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ทั้งสองหน่วยงานมีหน้าที่ในการรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไป และไม่แน่ใจว่าเมื่อถูกควบรวมกันแล้ว จะสามารถทำงานร่วมกันได้ดีหรือไม่ และร้อยละ 10.07 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ

 

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรายงานเสรีภาพในประเทศไทย ขององค์กรสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรต์วอตช์ ที่กล่าวว่า “เสรีภาพในไทยตกต่ำอย่างไม่สิ้นสุด ตั้งแต่ประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2557” พบว่า ประชาชน ร้อยละ 28.46 ระบุว่า เห็นด้วยอย่างมาก  ร้อยละ 14.23 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย  ร้อยละ 15.35 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 36.53 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และร้อยละ 5.43 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วย – เห็นด้วยอย่างมาก ให้เหตุผลเพราะว่า การประกาศใช้ กฎอัยการศึกเป็นการเผด็จการมากเกินไป ถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพบางอย่าง เช่น การแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารบางอย่าง ซึ่งจะทำอะไรต้องระมัดระวัง ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย – ไม่เห็นด้วยเลย ให้เหตุผลเพราะว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึกไม่รู้สึกถึงการถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพแต่อย่างใด ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ บ้านเมืองเป็นปกติสุด ซึ่งบางครั้งคนไทยเคยชินกับการใช้สิทธิและเสรีภาพจนเกินขอบเขต รู้จักสิทธิแต่ไม่รู้จักการทำหน้าที่การเป็นพลเมืองที่ดี

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความเข้าใจในบริบททางการเมืองไทย ขององค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 12.07 เชื่อว่า มีความเข้าใจเป็นอย่างดี ร้อยละ 28.70  เชื่อว่า ค่อนข้างมีความเข้าใจ ร้อยละ 29.74 เชื่อว่าไม่ค่อยมีความเข้าใจ ร้อยละ เชื่อว่า 18.46 ไม่มีความเข้าใจเลย  และร้อยละ 11.03 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ โดยในจำนวนผู้ที่เชื่อว่าองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ค่อนข้างมีความเข้าใจ – มีความเข้าใจเป็นอย่างดีในบริบททางการเมืองไทย ให้เหตุผลเพราะว่า องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศน่าจะมีการศึกษาและทำความเข้าใจในประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศอยู่แล้ว และในสังคมแต่ละประเทศ ก็ย่อมมีความคิดของที่แตกต่างกันออกไปซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ โดยการเมืองไทยมีรูปแบบการปกครอง และเหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นเฉพาะตัว

 

ส่วนผู้ที่เชื่อว่าไม่ค่อยมีความเข้าใจ – ไม่มีความเข้าใจเลย ให้เหตุผลเพราะว่า ในสังคมแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันออกไป น่าจะทำความเข้าใจได้ยาก และอาจได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อน อีกทั้งการเมืองของไทยเป็นเรื่องของภายในประเทศที่ต่างชาติอาจจะยังไม่เข้าใจได้ดี

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th