ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

ปัญหาภัยแล้งปี 2558

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”  ร่วมกับ “คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน  เรื่อง “ปัญหาภัยแล้งปี 2558” ทำการสำรวจระหว่างวันที่  25 – 26 มิถุนายน 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาภัยแล้งและแนวทางใดในการเร่งแก้ไขปัญหาภัยแล้ง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันและส่งผลต่อวิกฤติปริมาณน้ำในเขื่อนและวิกฤติการเพาะปลูกในพื้นที่การเกษตร ในภาพรวมพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.96  ระบุว่า เกิดจากป่าถูกทำลายไปกว่า 26 ล้านไร่ จนเกิดภูเขาหัวโล้น และทำให้ไม่มีฝน รองลงมา  ร้อยละ 36.80 ระบุว่า เกิดจากปรากฏการณ์   เอลนิโญ ที่ทำให้เกิดร้อนแล้งไปทั่วภูมิภาค ร้อยละ 11.44 ระบุว่า เกิดจากกรมชลประทานไม่ใส่ใจคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนที่ไม่เพียงพอกับภาคการเกษตร ร้อยละ 9.76 ระบุว่า เกิดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของตนเองผิดพลาด ร้อยละ 7.68 ระบุว่า เกิดจากปี 2555 ฝ่ายการเมืองสั่งการให้ระบายน้ำในเขื่อนลงมากเกินไปเพราะเกรงจะเกิดน้ำท่วมซ้ำรอยปี 2554 ร้อยละ 6.56 ระบุว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนหนึ่งไม่ฟังรัฐบาลและพยายามที่จะปลูกข้าวนาปรังทำให้มีการใช้น้ำสูงขึ้นจากที่กำหนดไว้ ร้อยละ 6.08 ระบุว่า  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขาดการเตรียมพร้อมที่ดี ทั้ง ๆ ที่รู้ล่วงหน้าแล้วว่าปีนี้จะแล้งหนัก ร้อยละ 2.00 ระบุว่า เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ สภาวะโลกร้อน ปรากฎการณ์เรือนกระจก การเผาขยะ เกิดมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ระบบนิเวศถูกทำลายโดยมนุษย์ การเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมมากเกินไป  ร้อยละ 1.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

เมื่อวิเคราะห์เฉพาะกลุ่มเกษตรกร พบว่า ร้อยละ 68.58 ระบุว่า เกิดจากป่าถูกทำลายไปกว่า 26 ล้านไร่ จนเกิดภูเขาหัวโล้น และทำให้ไม่มีฝน รองลงมา ร้อยละ 43.58 ระบุว่า เกิดจากปรากฏการณ์ เอลนิโญ ที่ทำให้เกิดร้อนแล้งไปทั่วภูมิภาค ร้อยละ 9.17 ระบุว่า เกิดจากกรมชลประทานไม่ใส่ใจคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนที่ไม่เพียงพอกับภาคการเกษตร และเกิดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของตนเองผิดพลาด ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 7.11 ระบุว่า เกิดจากปี 2555 ฝ่ายการเมืองสั่งการให้ระบายน้ำในเขื่อนลงมากเกินไปเพราะเกรงจะเกิดน้ำท่วมซ้ำรอยปี 2554 ร้อยละ 6.65 ระบุว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนหนึ่งไม่ฟังรัฐบาลและพยายามที่จะปลูกข้าวนาปรังทำให้มีการใช้น้ำสูงขึ้นจากที่กำหนดไว้ ร้อยละ 5.73 ระบุว่า  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขาดการเตรียมพร้อมที่ดี ทั้ง ๆ ที่รู้ล่วงหน้าแล้วว่าปีนี้จะแล้งหนัก ร้อยละ 1.61 ระบุว่า เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ สภาวะโลกร้อน ปรากฎการณ์เรือนกระจก การเผาขยะ เกิดมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ระบบนิเวศถูกทำลายโดยมนุษย์ การเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมมากเกินไป  และร้อยละ 0.69 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อแนวทางในการเร่งแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ณ ขณะนี้ เป็นการเฉพาะหน้า ในภาพรวมพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่  ร้อยละ 53.20 ระบุว่า ควรระดมทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ รองลงมา ร้อยละ 28.72 ระบุว่า ควรขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด ร้อยละ 27.44 ระบุว่า ควรเจาะน้ำบาดาลมาใช้เพิ่ม เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ร้อยละ 13.44 ระบุว่า ควรจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือรายได้แก่เกษตรกร ร้อยละ 13.28 ระบุว่า ควรจัดลำดับความเร่งด่วนในการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่การเกษตร ร้อยละ 13.04 ระบุว่า ควรชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีออกไปอีก 1 เดือน ร้อยละ 4.64 ระบุว่า ควรดำเนินโครงการหยุดพักชำระหนี้เกษตรกร ร้อยละ 1.12 ระบุว่า ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ เพราะเร็ว ๆ นี้ฝนจะมาแล้ว  ร้อยละ 0.48 ระบุว่า ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประกอบพิธีบวงสรวงขอฝนจากพระพิรุณทรงนาค ร้อยละ 0.40 ระบุว่า ประกอบพิธีขอฝนบริเวณเขื่อนต่าง ๆ และให้ชาวบ้านประกอบพิธีแห่นางแมวขอฝน ในสัดส่วนที่เท่ากัน  ร้อยละ 5.36 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรรณรงค์การปลูกป่า และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของป่าไม้ ผลกระทบจากการตัดไม้, เผา, ทำลายป่า ควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม, ควรเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า, ควรมีการบริหารจัดการน้ำ การปล่อยน้ำ การผันน้ำที่ดี เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่, เกษตรกรควรขุดบ่อหรือแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้, ควรสร้างฝายกั้นชะลอน้ำ ขุดลอกคลอง สร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นเก็บกักน้ำให้มากขึ้น, ให้เกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย, และควรสร้างอาชีพเสริมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง  และร้อยละ 1.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

เมื่อวิเคราะห์เฉพาะกลุ่มเกษตรกรพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่  ร้อยละ 56.88  ระบุว่า ควรระดมทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ รองลงมา ร้อยละ 28.44 ระบุว่า ควรเจาะน้ำบาดาลมาใช้เพิ่มเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ร้อยละ 22.48 ระบุว่า ควรขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด  ร้อยละ 20.41 ระบุว่า ควรจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือรายได้แก่เกษตรกร ร้อยละ 14.22 ระบุว่า ควรจัดลำดับความเร่งด่วนในการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่การเกษตร ร้อยละ 11.47 ระบุว่า ควรชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีออกไปอีก 1 เดือน ร้อยละ 7.11 ระบุว่า ควรดำเนินโครงการหยุดพักชำระหนี้เกษตรกร ร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ เพราะเร็ว ๆ นี้ฝนจะมาแล้ว ร้อยละ 0.69 ระบุว่า ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ประกอบพิธีบวงสรวงขอฝนจากพระพิรุณทรงนาค และควรประกอบพิธีขอฝนบริเวณเขื่อนต่าง ๆ และระบุว่า ให้ชาวบ้านประกอบพิธีแห่นางแมวขอฝน ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 3.90 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรรณรงค์การปลูกป่า และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของป่าไม้ ผลกระทบจากการตัดไม้, เผา, ทำลายป่า ควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม, ควรเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า, ควรมีการบริหารจัดการน้ำ การปล่อยน้ำ การผันน้ำที่ดี เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่, เกษตรกรควรขุดบ่อหรือแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้, ควรสร้างฝายกั้นชะลอน้ำ ขุดลอกคลอง สร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นเก็บกักน้ำให้มากขึ้น, ให้เกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย, และควรสร้างอาชีพเสริมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก ภัยแล้ง และร้อยละ 1.61 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th