ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

การปฏิรูปพุทธศาสนา

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การปฏิรูปพุทธศาสนา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2559 จากประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการปฏิรูปพุทธศาสนา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่า ความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.25 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน รองลงมา ร้อยละ 30.35 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ แต่ ไม่เร่งด่วน  ร้อยละ 21.96 ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นในการปฏิรูปพุทธศาสนาเลย ร้อยละ 3.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งมีร้อยละ 52.60 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน รองลงมา ร้อยละ 24.34 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ แต่ ไม่เร่งด่วน  ร้อยละ 19.30 ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นในการปฏิรูปพุทธศาสนาเลย ร้อยละ 3.76 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงานของมหาเถรสมาคมในการดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 10.62 ระบุว่า มหาเถรสมาคมดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์มีประสิทธิภาพสูง ร้อยละ 27.48 ระบุว่า ดำเนินงานค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.83 ระบุว่า ดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 16.29 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 10.78 ไม่แน่ใจ / ไม่ระบุ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งมีร้อยละ 10.49 ระบุว่า มหาเถรสมาคมดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์มีประสิทธิภาพสูง ร้อยละ 25.30 ระบุว่า ดำเนินงานค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.87 ระบุว่า ดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 19.13 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 11.21 ไม่แน่ใจ / ไม่ระบุ

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุ/ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบัน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 46.33 ระบุว่า พระสงฆ์ตัดไม่ขาดจากทางโลกแต่มาออกบวช รองลงมา ร้อยละ 30.83 ระบุว่า การปกครองภายในวัดไม่มีประสิทธิภาพทำให้มีข่าวฉาวเป็นประจำ เช่น พระสงฆ์เสพยาบ้า ดื่มสุรา ยุ่งสีกา ร้อยละ 29.63 ระบุว่า พระสงฆ์หลงในวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม ร้อยละ 24.36 ระบุว่า พระสงฆ์ยุ่งการเมือง/เลือกข้าง ร้อยละ 18.45 ระบุว่า พระสงฆ์หลงในลาภ ยศ สรรเสริญและตำแหน่งทางสงฆ์ ร้อยละ 15.02 ระบุว่า วัดมีความเป็นพุทธพาณิชย์/เน้นวัตถุนิยม ร้อยละ 13.42 ระบุว่า ญาติโยม/ลูกศิษย์ชอบชักนำให้พระสงฆ์ประพฤติหรือทำกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือผิดหลักพระธรรมวินัย ร้อยละ 12.78 ระบุว่า พระสงฆ์ไม่อยู่ในหลักพระธรรมวินัยพูดจาไม่สุภาพ มีพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 9.82 ระบุว่า องค์กรที่ดูแลพุทธศาสนาอ่อนแอขาดประสิทธิภาพในการตรวจสอบป้องกัน ร้อยละ 8.87 ระบุว่า การบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดโดยทั่วไปในปัจจุบันไม่มีความโปร่งใส ร้อยละ 8.07 ระบุว่า วัดและพระสงฆ์มีการแบ่งชั้นวรรณ ร้อยละ 7.91 ระบุว่า พระสงฆ์มีคำสอนที่บิดเบือนรวมถึงการโฆษณาอภินิหารเกินความจริง (อวดอุตริมนุสธรรม) ร้อยละ 6.47 ระบุว่า วัดและพระสงฆ์เน้นพิธีกรรมทางไสยศาสตร์มากกว่า คำสอนทางพุทธศาสนา ร้อยละ 4.95 ระบุว่า คนบวชเป็นพระเพราะไม่มีอะไรจะทำ จึงเกาะวัดกิน ร้อยละ 4.07 ระบุว่า พระสงฆ์หลงตัวเอง ร้อยละ 3.83 ระบุว่า ญาติโยม/ลูกศิษย์ หลงใหลในพระสงฆ์หรือวัดจนขาดสติ ไม่พิจารณาให้รอบครอบว่า วัดมีคำสอนที่บิดเบือนหรือไม่ พระสงฆ์ปฏิบัติอยู่ในหลักพระธรรมวินัยหรือไม่ ร้อยละ 3.19 ระบุว่า วัดโฆษณาชวนเชื่อให้คนทำบุญเกินตัว/เกินเหตุจำเป็น มีการเลือกคนทำบุญเฉพาะคนรวย ร้อยละ 2.80 ระบุว่า พระสงฆ์ไม่สามารถปกครองกันเองได้ ร้อยละ 2.56 ระบุว่า พุทธศาสนาในปัจจุบันไม่มีปัญหาใดๆเลย ร้อยละ 0.40 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ จากทั้งตัวชาวบ้านและพระสงฆ์เองที่ไม่มีการคัดกรองพระที่มาบวชทำให้ได้พระสงฆ์ที่ไม่มีคุณภาพ อีกทั้งพระปลอมเยอะและเกี่ยวข้องผลประโยชน์ คนเลยไม่ค่อยเข้าวัดทำบุญจึงทำให้ศาสนาดูไม่สำคัญ และร้อยละ 2.32 ไม่ระบุ/ไม่มีความเห็น

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    Final Round เลือกนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 2

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 30 มิ.ย. 2567

  • 3

    Believe It or Not ทางการเมืองไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 23 มิ.ย. 2567

  • 4

    ใครกล้าฟันธง เลือกตั้งนายก อบจ. ปทุมธานี 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 16 มิ.ย. 2567

  • 5

    ขอถามบ้าง 9 เดือนรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 09 มิ.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th