ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ค่าแรงขึ้น... คุ้มมั๊ยกับค่าแกง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 พ.ค. 2567

  • 2

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 3

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 4

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 5

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหา ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหา ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14 – 15 มีนาคม 2559 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี โดยเป็น ส.ว. สรรหาที่มาจากกลุ่มต่าง ๆ  และระหว่างวันที่ 17 – 18 มีนาคม 2559 ได้ดำเนินการสำรวจประชาชนจากหน่วยตัวอย่างเดิมที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 801 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้บัญชาการเหล่าทัพ ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้ามาเป็น สมาชิกวุฒิสภา  (ส.ว.) สรรหาโดยตำแหน่ง ในช่วงเปลี่ยนผ่านประมาณ 5 ปี การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่า ความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้มีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหา มาควบคุม และกำหนดทิศทางการบริหารประเทศ ในช่วงเปลี่ยนผ่านประมาณ 5 ปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.08 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ บ้านเมืองจะได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอีกทั้งได้ตรวจสอบและควบคุมดูแลการทำงานของรัฐบาลได้ รองลงมา ร้อยละ 40.64 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ส.ว. ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนหรือ ให้มีการเลือกตั้งด้วยส่วนหนึ่ง อีกทั้งระยะเวลา 5 ปีนานเกินไป อาจเป็นการสืบทอดอำนาจ และอาจเป็นการนำเอาพรรคพวกตนเองเข้ามา ร้อยละ 0.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง 3 ปี ขณะที่บางส่วน ระบุว่า ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย  และร้อยละ 6.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ต่อมาเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาเป็น สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหาในช่วงเปลี่ยนผ่านประมาณ 5 ปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.36 ระบุว่า เห็นด้วย  เพราะมีความรู้ด้านกฎหมายและชอบการทำงานของ คสช. ที่เข้ามาดูแลเรื่องคอร์รัปชัน ดูจากผลงานที่ผ่านมาของ คสช. ทำงานได้ดี รองลงมา ร้อยละ 44.64 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ส.ว. ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่อยากให้ คสช.มีอำนาจทางการเมืองเพราะจะเป็นการสืบทอดอำนาจ ร้อยละ 0.32 ระบุว่า มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ขณะที่ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) บางส่วน เข้ามาเป็น สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหาในช่วงเปลี่ยนผ่านประมาณ 5 ปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.76 ระบุว่า เห็นด้วย  เพราะ ดูจากการทำงานที่ผ่านมา สนช. หลายคนสามารถเป็น ส.ว.ได้ ซึ่งหลาย ๆ ท่านมีความรู้ความสามารถด้านกฎหมายจะได้ช่วยกันควบคุมและปรับปรุงการทำงาน รองลงมา ร้อยละ 36.72 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ส.ว. ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และอยากให้เปลี่ยนชุดใหม่ไม่ต้องการให้คนที่ออกกฎหมายมาเป็นคนตรวจสอบกฎหมายเอง บางส่วนมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ ในขณะที่บางส่วนบอกว่าควรสรรหาจากบุคคลภายนอก (ที่ไม่ใช่ สนช.) ดีกว่า ร้อยละ 0.56 ระบุว่า มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) บางส่วน เข้ามาเป็น สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหาในช่วงเปลี่ยนผ่านประมาณ 5 ปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.80 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ดูจากการทำงานที่ผ่านมา สปท. หลายคนสามารถเป็น ส.ว.ได้ ซึ่งหลาย ๆ ท่านมีความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 36.16 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ส.ว. ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และอยากให้เปลี่ยนชุดใหม่เพื่อไม่ให้ดูเป็นการสืบทอดอำนาจ ร้อยละ 0.32 ระบุว่า มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ท้ายที่สุดจากการสำรวจจากหน่วยตัวอย่างเดิมจำนวน 801 หน่วยตัวอย่าง ในประเด็นเรื่องการแต่งตั้งผู้บัญชาการเหล่าทัพ ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ  ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้ามาเป็น สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหาโดยตำแหน่ง ในช่วงเปลี่ยนผ่านประมาณ 5 ปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.31 ระบุว่า เห็นด้วย  เพราะ ทำให้ ส.ว. สรรหาที่เข้ามีความหลากหลายทางอาชีพ ซึ่งผู้บัญชาการเหล่าทัพ นั้นเป็นผู้ที่มากด้วยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ จะได้เข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาของประเทศ เป็นการสร้างพื้นฐานที่มั่นคงในการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงาน น่าจะมีระบบการทำงานที่ดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 42.07 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ  มองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของทหาร อาศัยระบบพวกพ้อง และเป็นการใช้อำนาจทางทหารมากเกินไป อาจเกิดปัญหาความขัดแย้งภายหลัง ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง ส.ว. จะดีกว่า หรือควรมาจากกลุ่มอาชีพอื่น ๆ เช่น กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มเกษตรกร เป็นต้น ร้อยละ 1.50  ระบุอื่น ๆ ได้แก่ เป็นใครก็ได้ขอให้มีความจริงใจในการแก้ไขประเทศ และร้อยละ 7.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ค่าแรงขึ้น... คุ้มมั๊ยกับค่าแกง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 พ.ค. 2567

  • 2

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 3

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 4

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 5

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th