ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ค่าแรงขึ้น... คุ้มมั๊ยกับค่าแกง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 พ.ค. 2567

  • 2

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 3

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 4

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 5

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

ภาวะทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย ปี 2559

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

เนื่องในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ตรงกับวันผู้สูงอายุ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”  ร่วมกับ “ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ภาวะทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย ปี 2559” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23 – 28 มีนาคม 2559 กรณีศึกษาจากผู้สูงอายุไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับภาวะการทำงาน รายได้ ภาระหนี้สิน การได้รับการเกื้อกูล และการใช้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Rando Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่า ความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงภาวะการทำงาน รายได้เฉลี่ย และเหตุผลของการไม่ได้ทำงานของผู้สูงอายุไทย พบว่า ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่  ร้อยละ 63.20 ระบุว่า ไม่ได้ทำงานแล้ว รองลงมา ร้อยละ 23.12 ระบุว่า ทำงานมีรายได้เป็นรายเดือน โดยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 23,752.10 บาท/เดือน  (S.D. = 180,126.76 บาท/เดือน ต่ำสุด 150 บาท/เดือน สูงสุด 3,000,000 บาท/เดือน) และร้อยละ 13.68 ระบุว่า ทำงานมีรายได้เป็นรายวัน โดยมีรายได้เฉลี่ยวันละ 487.64 บาท/วัน (S.D. = 1,121.10 บาท/วัน ต่ำสุด 20 บาท/วัน สูงสุด 10,000 บาท/วัน) ซึ่งในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ไม่ได้ทำงานแล้ว ส่วนใหญ่  ร้อยละ 58.10 ให้เหตุผลว่า เป็นเพราะอายุมากแล้ว รองลงมา ร้อยละ 19.62 ระบุว่า เพราะเกษียณอายุแล้ว ร้อยละ 16.20 ระบุว่า เพราะสุขภาพไม่ดี ร้อยละ 15.19 ระบุว่า เพราะลูกหลานไม่ต้องการให้ทำงาน ร้อยละ 2.28 ระบุว่า เพราะไม่มีใครจ้างงาน และร้อยละ 0.38 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ต้องดูแลบิดามารดาที่ป่วย มีญาติพี่น้องคอยช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่แล้ว และบางส่วนทำงานด้านจิตอาสาให้กับวัด

 

ด้านภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบในด้านต่าง ๆ ของผู้สูงอายุไทย พบว่า ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.68 ระบุว่า ไม่มีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ ขณะที่ร้อยละ 48.32 ระบุว่า มีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ โดยในจำนวนนี้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.69 ระบุว่า มีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบที่เกิดจากการประกอบธุรกิจการค้า การประกอบอาชีพ รองลงมา ร้อยละ 27.09 ระบุว่า เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 17.49 ระบุว่า เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ ฯลฯ ร้อยละ 14.24 ระบุว่า เพื่อเป็นการผ่อนชำระสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ร้อยละ 10.06 ระบุว่า เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาบุตรหลาน และร้อยละ 0.77 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูพ่อแม่ ค่ารักษาพยาบาล ชดเชยค่าเสียหายจากการถูกฉ้อโกง

 

สำหรับการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลในด้านต่าง ๆ ของลูกหลานต่อผู้สูงอายุไทย พบว่า ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 24.80 ระบุว่า ลูกหลานให้เงินช่วยเหลือเป็นประจำ (ทุกวัน/สัปดาห์/เดือน) รองลงมา ร้อยละ 21.20 ระบุว่า มีลูกหลานแต่ไม่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลในด้านใด ๆ ร้อยละ 17.68 ระบุว่า ให้เงินช่วยเหลือตามโอกาส (เช่น วันเกิด เทศกาลปีใหม่หรือสงกรานต์) ร้อยละ 16.48 ระบุว่า ให้เวลาช่วยเหลือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น ช่วยงานบ้าน ทำกับข้าวให้ทาน อ่านหนังสือให้ฟัง ช่วยทำธุระ พาไปหาหมอ ฯลฯ  เป็นประจำ (ทุกวัน/สัปดาห์/เดือน) ร้อยละ 10.56 ระบุว่า ไม่มีลูกหลานมาให้ความช่วยเหลือ (โสด ไม่มีบุตรหลาน เป็นหม้าย/หย่าร้าง อยู่ตัวคนเดียว) และร้อยละ 9.28 ระบุว่า ให้เวลาช่วยเหลือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ  เป็นครั้งคราว

 

ด้านบุคคลที่ผู้สูงอายุไทยจะขอให้ช่วยเหลือเป็นคนแรกถ้าหากมีปัญหาทางด้านการเงิน พบว่า ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.68 ระบุว่า เป็นลูก รองลงมา ร้อยละ 9.36 ระบุว่า เป็นสถาบันการเงิน (เช่น ธนาคาร สหกรณ์ออมทรัพย์) ร้อยละ 7.84 ระบุว่า เป็นคู่สมรส ร้อยละ 7.44 ระบุว่า เป็นพี่/น้อง/ญาติ/คนในครอบครัว ร้อยละ 3.92 ระบุว่า เป็นพึ่งตนเอง ร้อยละ 1.76 ระบุว่า เป็นหลาน (ลูกของลูก) ร้อยละ 1.12 ระบุว่า เป็นเพื่อน/เพื่อนบ้าน/คนรู้จัก ร้อยละ 0.96 ระบุว่า เป็นกู้เงินนอกระบบ ร้อยละ 0.56 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน รัฐบาล ขณะที่ร้อยละ 19.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงการนำเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ไปใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ของผู้สูงอายุไทยในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.54 ระบุว่า นำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (อาหารการกิน ข้าวของเครื่องใช้ สินค้าอุปโภคบริโภค) รองลงมา ร้อยละ 21.08 ระบุว่า ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ (เกษียณอายุ อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ อายุเพิ่งจะ 60 ปี บริบูรณ์) ร้อยละ 9.99 ระบุว่า ใช้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพร่างกาย การรักษาโรค ร้อยละ 9.01 ระบุว่า นำไปทำบุญ ร้อยละ 5.48 ระบุว่า นำไปฝากธนาคาร/เก็บออม/ลงทุน ร้อยละ 2.74 ระบุว่า นำไปให้บุตรหลาน ร้อยละ 1.17 ระบุว่า นำไปใช้จ่ายหนี้สิน ร้อยละ 0.78 ระบุว่า นำไปประกอบธุรกิจการค้า การลงทุนด้านการประกอบอาชีพ และร้อยละ 0.20 ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ บริจาคให้ผู้อื่น สละสิทธิ์ให้ผู้อื่นที่เดือดร้อนกว่า ทำประกันชีวิต

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ค่าแรงขึ้น... คุ้มมั๊ยกับค่าแกง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 พ.ค. 2567

  • 2

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 3

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 4

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 5

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th