ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ค่าแรงขึ้น... คุ้มมั๊ยกับค่าแกง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 พ.ค. 2567

  • 2

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 3

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 4

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 5

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

สงครามไซเบอร์

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “สงครามไซเบอร์” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21  – 23 ธันวาคม 2559  จากประชาชนทั่วประเทศ  กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ  รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,501 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการต่อต้าน พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ของกลุ่มเครือข่ายพลเมืองชาวเน็ต และแนวร่วมอีกหลายกลุ่ม ด้วยการประกาศสงครามไซเบอร์ และแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.3

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) ของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.62 ระบุว่า ใช้อินเทอร์เน็ต ขณะที่ ร้อยละ 35.38 ระบุว่า ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต

 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการต่อต้าน พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ของกลุ่มเครือข่ายพลเมืองชาวเน็ต และแนวร่วมอีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway ด้วยการประกาศสงครามไซเบอร์ และแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง ซึ่งในจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.39 ระบุว่า เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย รองลงมา ร้อยละ 19.90 ระบุว่า เป็นการพิสูจน์ศักยภาพหน่วยงานภาครัฐว่าจะสามารถรับมือ สงครามไซเบอร์ ได้แค่ไหน ร้อยละ 17.11 เป็นวิธีการที่เหมาะสม เพราะรัฐไม่ยอมฟังเสียงต้านของประชาชนบางส่วน ร้อยละ 11.44 ระบุว่า มีการเมืองอยู่เบื้องหลังกลุ่มต่อต้าน พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 7.53 ระบุว่า เป็นแค่เรื่องของเด็กเกรียนต้องการแสดงศักยภาพของตัวเอง ร้อยละ 1.96 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ เป็นเรื่องของผลประโยชน์ และเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม แต่ยังไม่มีผลกระทบที่ชัดเจน และข้อกฎหมายยังคลุมเครือ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกวิธี, ขณะที่บางส่วนระบุว่า รัฐบาลไม่ควรปิดกั้นข้อมูลข่าวสารและละเมิดสิทธิ เสรีภาพ และความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต, บางส่วนระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มต่อต้าน เพราะ พรบ. ฉบับใหม่จะช่วยคัดกรองข้อมูลหรือเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน และร้อยละ 22.27 ไม่ระบุ/เฉย ๆ

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินการของภาครัฐต่อสงครามไซเบอร์ ในครั้งนี้ พบว่า ในจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต ประชาชนส่วนใหญ่  ร้อยละ 47.53 ระบุว่า รัฐเร่งชี้แจงพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ให้ชัดเจนจะได้ช่วยลดข้อขัดแย้งลง รองลงมา ร้อยละ 30.62 ระบุว่า หาวิธีการป้องกันการแฮกเจาะข้อมูลเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 25.46 ระบุว่า ควรสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดดำเนินคดีตามกฎหมาย  ร้อยละ 15.98 ระบุว่า ยอมอ่อนข้อประนีประนอม โดยยอมทบทวนกฎหมาย ร้อยละ 3.61 ระบุว่า ไม่ต้องสนใจอะไร และเดินหน้าประกาศใช้กฎหมาย ร้อยละ 0.82 ระบุอื่น ๆได้แก่ รัฐบาลควรเจรจา และควรรับฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน และควรใช้กฎหมายไปในทิศทางที่ถูกต้องตามหลักของธรรมาภิบาล และร้อยละ 12.89 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ/เฉย ๆ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ค่าแรงขึ้น... คุ้มมั๊ยกับค่าแกง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 พ.ค. 2567

  • 2

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 3

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 4

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 5

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th