ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

  • 2

    ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 08 ธ.ค. 2567

  • 3

    ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ธ.ค. 2567

  • 4

    พรรคประชาชนเปิดหน้าชนพรรคเพื่อไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 พ.ย. 2567

  • 5

    มีใครเข้าใจประเด็นโต้แย้งเรื่อง MOU 44 และเกาะกูด บ้าง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 พ.ย. 2567

การรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18  – 20 มกราคม 2560 กรณีศึกษาจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด  กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ  รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามจังหวัดออกเป็น 14 จังหวัด จากนั้นในแต่ละจังหวัด สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการประสบกับเหตุอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในช่วงเดือนธันวาคม 2559 – ต้นเดือนมกราคม 2560 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนในภาคใต้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.56 ระบุว่า ไม่ได้ประสบเหตุอุทกภัยน้ำท่วม ขณะที่ ร้อยละ 37.44 ระบุว่า ประสบเหตุอุทกภัยน้ำท่วม

 

ด้านความคิดของผู้ประสบอุทกภัยเกี่ยวกับสิ่งที่ควรได้รับการปรับปรุงในการรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้มากที่สุด โดยในจำนวนผู้ที่ประสบเหตุอุทกภัยน้ำท่วม  ส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.55 ระบุว่า เป็นการบริหารจัดการทิศทางการไหลและการระบายของน้ำให้ลดโดยเร็วที่สุด รองลงมา ร้อยละ 23.98 ระบุว่า เป็นการฟื้นฟู การเยียวยา และการชดเชยความเสียหายแก่ผู้ประสบอุทกภัยหลังจากน้ำลด    ร้อยละ 12.42 ระบุว่า เป็นการจัดสรรและกระจายสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย (มีความล่าช้า ได้ไม่ทั่วถึง ได้ไม่เท่ากัน ฯลฯ) ร้อยละ 11.35 ระบุว่า เป็นความรวดเร็วในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ร้อยละ 11.35 ระบุว่า เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสาร เช่น ข้อมูลระดับน้ำ การเฝ้าระวัง ข้อมูลการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ฯลฯ ร้อยละ 4.28 ระบุว่า เป็นการประสานงานระหว่างผู้ประสบอุทกภัย กับเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานต่าง ๆ ร้อยละ 6.42 ระบุว่า ไม่ต้องได้รับการปรับปรุง / ผู้ประสบอุทกภัยได้รับการแก้ไขและช่วยเหลือเป็นอย่างดี และร้อยละ 0.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรปรับปรุงในทุก ๆ ด้าน และเน้นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน เช่น การแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า

 

สำหรับความพึงพอใจของผู้ประสบอุทกภัยต่อการให้ความช่วยเหลือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ผู้ที่ประสบเหตุอุทกภัยน้ำท่วม ร้อยละ 16.27 ระบุว่า พอใจมากที่สุด ร้อยละ 29.55 ระบุว่า พอใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 35.76 ระบุว่า พอใจปานกลาง ร้อยละ 11.78 ระบุว่า พอใจค่อนข้างน้อย และร้อยละ 6.64 ระบุว่า ไม่พึงพอใจเลย

 

เมื่อถามถึงการติดตามข้อมูลข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ประชาชนในภาคใต้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.92 ระบุว่า ติดตาม ขณะที่ ร้อยละ 6.08 ระบุว่า ไม่ได้ติดตาม  ซึ่งในจำนวนผู้ที่ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยานั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.77 ระบุว่า ติดตามจากสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 35.69 รองลงมา ระบุว่า ติดตามจากสื่ออินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์  (เช่น เว็บไซต์ต่าง ๆ ไลน์ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ฯลฯ)  ร้อยละ 8.86 ระบุว่า ติดตามจากสื่อวิทยุ  ร้อยละ 2.98 ระบุว่า ติดตามจากสื่อหนังสือพิมพ์ / สิ่งพิมพ์ ร้อยละ 2.39 ระบุว่า ติดตามจากการแจ้งข่าวจากบุคคล ญาติ เพื่อน คนรอบข้าง ร้อยละ 1.96 ระบุว่า ติดตามจากการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในชุมชน และร้อยละ 0.17 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ วิทยุสื่อสารที่ใช้ในการจราจรทางน้ำและการประมง, และติดต่อผ่านหมายเลข 1182 ของกรมอุตุนิยมวิทยาโดยตรง

 

ด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ  ในครั้งต่อ ๆ ไป พบว่า ประชาชนในภาคใต้ ร้อยละ 13.98 ระบุว่า เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 24.45 ระบุว่า เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 45.22 ระบุว่า เชื่อมั่นปานกลาง ร้อยละ 10.63 ระบุว่า เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย ร้อยละ 5.72 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนต้องการฝากถึง รัฐบาล / หน่วยงานภาครัฐ / ภาคเอกชน และประชาชนภาคอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย  พบว่า ประชาชนในภาคใต้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.48 ระบุว่า ควรแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น เครื่องนุ่งห่ม ยา อาหาร น้ำดื่ม  แก่ผู้ประสบอุทกภัยให้ทั่วถึง เท่าเทียมกัน และควรมีคณะกรรมการกลางในการตรวจสอบสิ่งของบริจาค วันหมดอายุ และจัดสรรสิ่งของให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับถึงมืออย่างแท้จริง และเร่งดำเนินการฟื้นฟู เยียวยา การชดเชยค่าเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมอาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย การสร้างถนน สะพาน สาธารณูปโภคต่าง ๆ น้ำประปา ไฟฟ้า อุปกรณ์การเกษตร การสร้างงาน อาชีพ เงินทุน ดอกเบี้ยสินเชื่อ และรวมไปถึงควรลดเงื่อนไข เอกสาร หรือขั้นตอนในการยื่นเรื่องขอค่าชดเชย ความเสียหายด้วย  รองลงมา ร้อยละ 29.56 ระบุว่า ทุกภาคส่วนควรเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเต็มที่ และเป็นไปด้วยความรวดเร็วอย่างทันท่วงที และควรมีทีมช่วยเหลือให้เพียงพอ และผู้ที่เกี่ยวข้องควรลงมาดูพื้นที่ความเสียหายด้วยตนเองด้วยความจริงจังและเอาใจใส่ โดยเฉพาะ พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนักและเร่งด่วนอย่างมาก หรือพื้นที่ที่มีผู้ป่วย ผู้พิการ คนชรา และควรแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ร้อยละ 15.45  ระบุว่า ขอขอบคุณ ชื่นชม และเป็นกำลังใจให้กับหน่วยงานทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทุกคนที่ร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขและช่วยเหลือกันซึ่งทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมและประสานงานกันในการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี มีความรวดเร็ว เป็นไปอย่างทั่วถึง และขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยทุกคน ก้าวข้ามวิกฤตในครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้โดยเร็วที่สุด

 

นอกจากนี้ ร้อยละ 12.65 ระบุว่า รัฐบาล และหน่วยงานอื่น ๆ ควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ต้นเหตุแบบระยะยาว และมีความยั่งยืน มีการบริหารจัดการน้ำที่เป็นรูปธรรมและดีกว่านี้ ควรมีการวางแผนการระบายน้ำ การจัดผังเมือง สิ่งกีดขวางและการลุกล้ำพื้นที่ทางน้ำ การสร้างพื้นที่รองรับน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ แก้มลิงต่าง ๆ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าด้วย ร้อยละ 3.33 ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กรมอุตุนิยมวิทยา หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น ควรมีการติดต่อ ประสานงานกับคนในพื้นที่และชุมชน เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารและระบบการเตือนภัยให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้อง และครอบคลุมในพื้นที่ และในขณะเดียวกัน ประชาชนเอง ก็ควรที่จะติดตามข้อมูลข่าวสารและเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ด้วย เนื่องจากภาวะฝนตกและน้ำท่วมเกิดขึ้นรวดเร็วมาก และร้อยละ 0.53 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ รัฐบาลควรศึกษาและนำไปปรับเป็นบทเรียนไว้ใช้ในครั้งต่อ ๆ ไป โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อม และการรับมือ เพราะน้ำท่วม สามารถเกิดได้ทุกที่ และทุกเวลา , ขณะที่บางส่วนระบุว่า อุทกภัย เป็นภัยธรรมชาติที่แก้ไขได้ยาก

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

  • 2

    ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 08 ธ.ค. 2567

  • 3

    ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ธ.ค. 2567

  • 4

    พรรคประชาชนเปิดหน้าชนพรรคเพื่อไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 พ.ย. 2567

  • 5

    มีใครเข้าใจประเด็นโต้แย้งเรื่อง MOU 44 และเกาะกูด บ้าง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 พ.ย. 2567

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th