ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5
คุณภาพชีวิตของคนไทย ภายใต้รัฐบาล คสช.
วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คุณภาพชีวิตของคนไทย ภายใต้รัฐบาล คสช.” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2560 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปกระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยภายใต้รัฐบาล คสช. ในด้านต่าง ๆ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ในปี 2559 เมื่อเทียบกับปี 2558 ภายใต้รัฐบาล คสช. พบว่า ด้านเศรษฐกิจ ปากท้อง รายได้และรายจ่าย ประชาชน ร้อยละ 23.36 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 43.12 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 33.28 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 0.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านการศึกษา/ภาวะการทำงาน/การประกอบอาชีพ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 28.24 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 43.52 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 25.84 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 2.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยรวม พบว่า ประชาชน ร้อยละ 37.28 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 43.52 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 19.04 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านการพักผ่อนและการใช้ชีวิตในเวลาว่าง พบว่า ประชาชน ร้อยละ 35.68 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 47.12 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 16.88ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 0.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว พบว่า ประชาชน ร้อยละ 50.32 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 41.68 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 7.84 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 36.56 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 47.36 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 15.04 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 1.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความสงบสุข ความปรองดอง ความสามัคคีของคนในสังคมและชุมชน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 45.44 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 38.64ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 14.08 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 1.84 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เช่น สัญญาณโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน การคมนาคม ฯลฯ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 49.36 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 37.44 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 12.32 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 0.88 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต พบว่า ประชาชน ร้อยละ 38.00 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 44.00 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 16.72 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง พบว่า ประชาชน ร้อยละ 27.52 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 41.44 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 22.08 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 8.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านการบริการและการได้รับสวัสดิการของรัฐด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน เช่น ระบบการศึกษา ระบบประกันสุขภาพ (การรักษาพยาบาล) การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐแก่ประชาชน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 47.84 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 40.88 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 8.56 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 2.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็น/ความคาดหวังของประชาชนต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ในปี 2560 ภายใต้รัฐบาล คสช. ว่าจะเป็นอย่างไร พบว่า ด้านเศรษฐกิจ ปากท้อง รายได้และรายจ่าย ประชาชน ร้อยละ 52.64 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 25.84 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 13.12 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 8.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านการศึกษา/ภาวะการทำงาน/ การประกอบอาชีพ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 53.92 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 26.72 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 11.84 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 7.52 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยรวม พบว่า ประชาชน ร้อยละ 61.68 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 26.08 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 8.08 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 4.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านการพักผ่อนและการใช้ชีวิตในเวลาว่าง พบว่า ประชาชน ร้อยละ 55.92 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 33.52 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 6.96 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 3.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว พบว่า ประชาชน ร้อยละ 63.92 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 30.96 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 3.52 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 54.08 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 33.68 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 8.00 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 4.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความสงบสุข ความปรองดอง ความสามัคคีของคนในสังคมและชุมชน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 61.04 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 28.48 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 6.72 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 3.76 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เช่น สัญญาณโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน การคมนาคม ฯลฯ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 64.16 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 26.00 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 6.24 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 3.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต พบว่า ประชาชน ร้อยละ 57.28 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 28.80 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 9.68 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 4.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง พบว่า ประชาชน ร้อยละ 45.44 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 33.44 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 10.32 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 10.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านการบริการและการได้รับสวัสดิการของรัฐด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน เช่น ระบบการศึกษา ระบบประกันสุขภาพ (การรักษาพยาบาล) การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐแก่ประชาชน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 59.12 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 30.08 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 5.20 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 5.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
-
1
-
2
-
3
-
4
-
5