ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

  • 2

    ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 08 ธ.ค. 2567

  • 3

    ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ธ.ค. 2567

  • 4

    พรรคประชาชนเปิดหน้าชนพรรคเพื่อไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 พ.ย. 2567

  • 5

    มีใครเข้าใจประเด็นโต้แย้งเรื่อง MOU 44 และเกาะกูด บ้าง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 พ.ย. 2567

การปฏิรูปพุทธศาสนา

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การปฏิรูปพุทธศาสนา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2560 กรณีศึกษาจากประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการปฏิรูปพุทธศาสนา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล”  ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4    

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.84 ระบุว่า พระสงฆ์ตัดไม่ขาดจากทางโลก หลงในวัตถุนิยม ลาภ ยศ สรรเสริญ ตำแหน่งทางสงฆ์ หรือบริโภคนิยม รองลงมา ร้อยละ 49.76 ระบุว่า พระสงฆ์ไม่อยู่ในหลักพระธรรมวินัยทำให้มีข่าวฉาวเป็นประจำ เช่น พระสงฆ์เสพยาบ้า ดื่มสุรา ยุ่งสีกา พูดจาไม่สุภาพมีพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 40.32 ระบุว่า การสร้างค่านิยมหรือความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญ การถวายทาน การสร้างศาสนสถาน การบริจาคสิ่งของแบบผิด ๆ ร้อยละ 36.64 ระบุว่า วัดบางแห่งมีความเป็นพุทธพาณิชย์/เน้นวัตถุนิยม ร้อยละ 32.32 ระบุว่า องค์กรที่ดูแลพุทธศาสนาอ่อนแอขาดประสิทธิภาพในการทำงานและตรวจสอบป้องกัน ร้อยละ 31.36 ระบุว่า การบิดเบือนหลักคำสอนของพุทธศาสนา ร้อยละ 30.32 ระบุว่า การบังคับใช้พระธรรมวินัย กฎหมาย บทลงโทษ ไม่เด็ดขาดพอ ร้อยละ 27.36 ระบุว่า การปกครองภายในวัดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 2.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่  อยู่ที่ตัวบุคคล คนที่นับถือศาสนาพุทธบางคน ไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ หรือหลักของพุทธศาสนา ขาดการใช้วิจารณญาณในเรื่องของความศรัทธา และปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นจนทำเกิดปัญหาตามมา ร้อยละ 1.36 ระบุว่า พุทธศาสนาในปัจจุบันไม่มีปัญหาใด ๆ เลย และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงานของมหาเถรสมาคม(มส.) ในการดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 7.28 ระบุว่า มหาเถรสมาคมดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์มีประสิทธิภาพสูง ร้อยละ 18.48 ระบุว่า ดำเนินงานค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 1.12 ระบุว่ามีประสิทธิภาพปานกลาง ขณะที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.00  ระบุว่า ดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 26.32 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 6.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ  เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนของการดำเนินงาน ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ – มีประสิทธิภาพสูงลดลง  และสัดส่วนของการดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ – ไม่มีประสิทธิภาพเลย เพิ่มขึ้น

 

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อความเร่งด่วนในการปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.48       ระบุว่า การปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน รองลงมา ร้อยละ 21.12 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ แต่ไม่เร่งด่วน  ร้อยละ 10.00 ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นในการปฏิรูปพุทธศาสนาเลย ร้อยละ 2.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนความต้องการปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบอย่างเร่งด่วนนั้น เพิ่มขึ้น

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปฏิรูปพุทธศาสนา ในเรื่องต่าง ๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.94 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระภิกษุสงฆ์ให้มีความสอดคล้องกับพระธรรมวินัย รองลงมา ร้อยละ 42.56 ระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทุก ๆ ฝ่าย คอยสอดส่อง ดูแล พระภิกษุสงฆ์ ให้ประพฤติตนอยู่ในสมณเพศ  และปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 42.19 ระบุว่า เป็นการบังคับใช้พระธรรมวินัย กฎหมาย บทลงโทษ ทั้งทางโลกและทางธรรม ที่เคร่งครัดและเข้มงวด ร้อยละ 42.01 ระบุว่า เป็นการคัดกรองผู้ที่จะเข้าบวชเป็นพระอย่างมีคุณภาพและเหมาะสม ร้อยละ 34.25 ระบุว่า เป็นการเผยแพร่พุทธศาสนาที่ไม่บิดเบือน เป็นแก่นแท้ และตรงกับคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ร้อยละ 32.42 ระบุว่า เป็นการสร้างค่านิยม ความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญที่ถูกต้องและเหมาะสม อยู่ในความพอดี ร้อยละ 32.15 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ บทบาท หน้าที่และอำนาจของมหาเถรสมาคม(มส.) ร้อยละ 31.32 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ บทบาท หน้าที่และอำนาจของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ร้อยละ 26.39 ระบุว่า เป็นการส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางพุทธศาสนา ร้อยละ 0.64 ระบุว่า ควรปฏิรูปทุกด้าน และร้อยละ 1.83 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

  • 2

    ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 08 ธ.ค. 2567

  • 3

    ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ธ.ค. 2567

  • 4

    พรรคประชาชนเปิดหน้าชนพรรคเพื่อไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 พ.ย. 2567

  • 5

    มีใครเข้าใจประเด็นโต้แย้งเรื่อง MOU 44 และเกาะกูด บ้าง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 พ.ย. 2567

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th