ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ค่าแรงขึ้น... คุ้มมั๊ยกับค่าแกง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 พ.ค. 2567

  • 2

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 3

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 4

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 5

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

การยกฐานะ อบต. เป็นเทศบาล

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การยกฐานะ อบต. เป็นเทศบาล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 9 มีนาคม 2560 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปกระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ (ยกเว้นประชาชนที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตการปกครองพิเศษ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี) รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการยกฐานะ อบต. เป็นเทศบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาหลักของการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.60 ระบุว่า เป็นการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้ระบบพวกพ้อง เน้นประโยชน์ส่วนตนมากกว่า รองลงมา ร้อยละ 37.49 ระบุว่า บุคลากรไม่มีประสิทธิภาพ ขาดผู้นำที่ดี ทำงานที่ล่าช้า ขาดการพัฒนาองค์ความรู้ ร้อยละ 31.10 ระบุว่า ขาดการตรวจสอบความโปร่งใส ร้อยละ 29.82 ระบุว่า เป็นการของบประมาณโครงการที่เกินความจำเป็นและความต้องการ บางโครงการ ไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 27.26 ระบุว่า ขาดงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่น ร้อยละ 24.38 ระบุว่า ขาดการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ร้อยละ 22.30 ระบุว่า ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน ร้อยละ 18.39 ระบุว่า เป็นการจัดเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 17.43 ระบุว่า ขาดการมีส่วนร่วมกับประชาชน ร้อยละ 12.23 ระบุว่า อบต. ไม่มีปัญหาการบริหารจัดการ และร้อยละ 3.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการควบรวมยกฐานะ อบต.  เป็นเทศบาล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.10 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ อบต. มีจำนวนมากเกินไป สิ้นเปลืองงบประมาณ การทำงานล่าช้า มีการทุจริต ทำงานซ้ำซ้อนกับเทศบาล บางชุมชนไม่มีการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม การยกระดับหรือการควบรวมเป็นเทศบาล น่าจะบริหารจัดการได้ง่ายและสะดวกขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในเรื่องของบุคลากร การจัดสรรงบประมาณ การตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น ช่วยให้การพัฒนาท้องถิ่นเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ขณะที่ ร้อยละ 19.42 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ การกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่นโดยให้ อบต. น่าจะดูแลง่าย ทั่วถึง และประชาชนสามารถเข้าถึงได้มากกว่า หากมีการควบรวม กังวลว่าระบบการทำงานจะมีความซ้ำซ้อนและการติดต่อรปะสานงานยุ่งยากขึ้นกว่าเดิม หากควบรวมไปแล้ว การทุจริจตคอร์รัปชั่น ประสิทธิภาพ และระบบการทำงานก็ยังคงเหมือนเดิม องค์กรเทศบาลใหญ่ขึ้น ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณกว่าเดิม และควรมีเงื่อนไขในการพิจารณาการควบรวมที่ชัดเจนมากกว่านี้ และร้อยละ 8.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ท้ายสุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรูปแบบการควบรวม อบต. ที่เหมาะสมที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.04 ระบุว่า ให้ อบต. ขนาดเล็กพื้นที่ใกล้เคียงกันรวมกันเองแล้วยกฐานะเป็นเทศบาล รองลงมา ร้อยละ 34.77 ระบุว่า ให้ อบต. ขนาดเล็กพื้นที่ใกล้เคียงกันให้ควบรวมกับเทศบาล ร้อยละ 5.12 ระบุว่า ไม่ควรควบรวม อบต.ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้คงไว้เช่นเดิม และร้อยละ 10.07 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    ค่าแรงขึ้น... คุ้มมั๊ยกับค่าแกง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 12 พ.ค. 2567

  • 2

    แก้ไขรัฐธรรมนูญ เอาไงดี

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 05 พ.ค. 2567

  • 3

    หยุดรัฐประหาร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 28 เม.ย. 2567

  • 4

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 5

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th