ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

การปรับคณะรัฐมนตรี

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การปรับคณะรัฐมนตรี” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 กรกฎาคม 2560 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรี การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาค สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

  

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีในช่วงเวลาที่เหมาะสม พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.32 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันยังทำงานและแก้ไขปัญหาได้ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ บางคนอาจจะยังขาดประสบการณ์ในการบริหารประเทศ ประชาชนต้องการเห็นคนใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับตำแหน่งเข้ามาทำงาน มีวิสัยทัศน์หรือนโยบายใหม่ ๆ สร้างผลงานที่เป็นรูปธรรมและชัดเจน มีการเปลี่ยนแปลงของประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 12.56 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ต้องการให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญของประเทศ หากมีการปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง หลาย ๆ นโยบายหรือโครงการต่าง ๆ จะไม่ต่อเนื่อง ควรให้โอกาสในการทำงานจนเสร็จสิ้น บางส่วนระบุว่า คณะรัฐมนตรีชุดนี้ทำงานได้ดีอยู่แล้ว อีกทั้งสถานการณ์และเหตุการณ์บ้านเมืองยังมีความไม่แน่นอน ร้อยละ 0.72 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี จะอย่างไรก็ได้ และร้อยละ 6.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเหตุผลที่ต้องการให้มีการปรับตำแหน่งคณะรัฐมนตรีในครั้งถัดไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.12 ระบุว่า ผลงานที่ผ่านมา ยังไม่เป็นที่ถูกใจของประชาชนส่วนใหญ่ แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด รองลงมา ร้อยละ 30.80 ระบุว่า รัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีช่วยบางท่านมีความรู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง ร้อยละ 28.56 ระบุว่า รัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีช่วยบางท่านยังมีประสบการณ์ ไม่เพียงพอในการบริหารประเทศ ร้อยละ 28.08 ระบุว่า ต้องการสร้างความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์การทำงานของรัฐบาลที่ดีขึ้น ร้อยละ 15.84 ระบุว่า เป็นการหมุนเวียนตำแหน่งการทำงานของคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 2.24 ระบุว่า ไม่ต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี และร้อยละ 7.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกระทรวงที่ต้องการให้มีการสลับสับเปลี่ยนการทำงานของคณะรัฐมนตรีมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 18.40 ระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 9.04 ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงศึกษาธิการ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 6.88 ระบุว่า กระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 5.28 ระบุว่า กระทรวงการคลัง ร้อยละ 5.12 ระบุว่า กระทรวงกลาโหม ร้อยละ 4.32 ระบุว่า กระทรวงแรงงาน ร้อยละ 4.24 ระบุว่า สำนักนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 4.00 ระบุว่า กระทรวงยุติธรรม ร้อยละ 3.04 ระบุว่า ไม่ต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 2.88 ระบุว่า กระทรวงคมนาคม ร้อยละ 2.16 ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 1.84 ระบุว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้อยละ 1.04 ระบุว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร้อยละ 3.12 ระบุอื่น ๆ ได้แก่  กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการให้สลับสับเปลี่ยนการทำงานของคณะรัฐมนตรีทั้งหมด และร้อยละ 19.60 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    จากบทบาททักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 21 เม.ย. 2567

  • 2

    ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย 2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 13 เม.ย. 2567

  • 3

    ยาบ้า 5 เม็ด กับ ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 07 เม.ย. 2567

  • 4

    ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 31 มี.ค. 2567

  • 5

    การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 มี.ค. 2567

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารเสรีไทย เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02-727-3596
, 02-727-3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02-727-3242
, 02-727-3618
, 02-727-3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02-727-3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th