ผลสำรวจของนิด้าโพล

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

  • 2

    ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 08 ธ.ค. 2567

  • 3

    ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ธ.ค. 2567

  • 4

    พรรคประชาชนเปิดหน้าชนพรรคเพื่อไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 พ.ย. 2567

  • 5

    มีใครเข้าใจประเด็นโต้แย้งเรื่อง MOU 44 และเกาะกูด บ้าง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 พ.ย. 2567

คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

วันที่อัพเดทล่าสุด : 26.03.2566

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 18 มกราคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ควรมีมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.24 ระบุว่า เป็นความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส รองลงมา ร้อยละ 13.04 ระบุว่า เป็นการไม่ใช้อำนาจ ตำแหน่ง หน้าที่ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้อง เช่น การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ ร้อยละ 12.56 ระบุว่า เป็นการเอาใจใส่ และความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อประเทศชาติ ร้อยละ 6.80 ระบุว่า เป็นการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เคารพกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของบ้านเมือง ร้อยละ 6.64 ระบุว่า เป็นการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาประเทศชาติอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ หรือแบ่งแยก ร้อยละ 2.00 ระบุว่า เป็นการรักษาความเป็นระบอบประชาธิปไตย รับฟังเสียงส่วนน้อย ยึดหลักการมี ส่วนร่วม ร้อยละ 1.84 ระบุว่า เป็นการไม่สร้างความแตกแยกในสังคม หรือไม่กล่าวหาฝ่ายตรงข้าม ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ร้อยละ 1.28 ระบุว่า มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ ร้อยละ 1.20 ระบุว่า ยึดหลักความพอเพียง ใช้ทรัพย์สินของราชการเป็นประโยชน์ เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด และร้อยละ 0.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าในสังคมไทยประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการใช้อำนาจ ตำแหน่ง หน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้อง หรือยังไม่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทับซ้อนเท่าที่ควร

 

ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในภาพรวม (ได้แก่ ครม. สนช. สปท.)  พบว่า ร้อยละ 42.00 ระบุว่า ไม่ค่อยมีจริยธรรม  ร้อยละ 10.48 ระบุว่า มีจริยธรรมมาก ร้อยละ 31.28 ระบุว่า มีจริยธรรมค่อนข้างมาก ร้อยละ 11.20 ระบุว่า ไม่มีจริยธรรมเลย และร้อยละ 5.04  ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่าแม้ในปัจจุบันก็ยังเชื่อว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในภาพรวมไม่ค่อยมีจริยธรรม ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายของคสช ที่ต้องการเน้นจริยธรรมและการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นในการบริหารราชการแผ่นดิน

 

สำหรับการตัดสินใจของประชาชนหากต้องเลือกระหว่าง “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เก่ง มีผลงาน แต่ ไม่มีจริยธรรม” กับ “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีจริยธรรม แต่ ไม่เก่ง มีผลงานน้อย” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.88 ระบุว่า จะเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองที่มีจริยธรรม  แต่  ไม่เก่ง มีผลงานน้อย ขณะที่ ร้อยละ 17.36 ระบุว่า จะเลือกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เก่ง มีผลงาน แต่ ไม่มีจริยธรรม ร้อยละ 3.68 ระบุว่า ไม่เลือกทั้งสองแบบ และร้อยละ 4.08 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่ามากกว่าสามในสี่ของประชาชนยังยอมรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ไม่เก่งแต่ไม่โกงได้ มากกว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เก่งแต่โกง

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้ประเทศไทยมีแต่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ดี เก่ง มีผลงาน และมีจริยธรรม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.20 ระบุว่า ควรมีบทลงโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด รองลงมา ร้อยละ 29.52 ระบุว่า ควรมีหน่วยงานตรวจสอบคุณธรรม จริยธรรม และความประพฤติของนักการเมือง ร้อยละ 21.44 ระบุว่า ควรมีระบบคัดกรองนักการเมืองน้ำดี มีคุณภาพ ร้อยละ 19.60 ระบุว่า ประชาชนต้องไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ร้อยละ 14.80 ระบุว่า ควรแก้ไขที่ระบบการศึกษาของไทย ร้อยละ 14.00  ระบุว่า ควรสร้างค่านิยมใหม่ ๆ ปรับทัศนคติ ค่านิยมคนไทยบางกลุ่มที่ยึดติดกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ไม่มีจริยธรรม แต่เก่ง มีผลงานหรือทัศนคติที่ว่าโกงได้ แต่ขอให้ประเทศพัฒนา ร้อยละ 1.68 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง, เร่งปฏิรูปการเมืองและนักการเมือง, ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และร้อยละ 3.20 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการให้มีการลงโทษผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่โกง ต้องมีการตรวจสอบ และมีการคัดกรองนักการเมืองที่ดี

 

กล่าวโดยสรุป ประชาชนต้องการผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส แต่ยังไม่ให้ความสำคัญเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนมากนัก อย่างไรก็ตามประชาชนมีความเห็นว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในปัจจุบันไม่ค่อยมีจริยธรรมซึ่งผลการสำรวจนี้ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่เน้นเรื่องจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต นอกจากนี้ประชาชนยังทนและยอมรับได้กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ไม่เก่งแต่ไม่โกง มากกว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เก่งแต่โกง และประชาชนต้องการให้มีการลงโทษผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่โกง ต้องมีการตรวจสอบที่เข้มข้น และมีการคัดกรองนักการเมืองที่ดี

ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์
  • 1

    สองมาตรการใหม่ คน กทม จะเอาไง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 15 ธ.ค. 2567

  • 2

    ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 08 ธ.ค. 2567

  • 3

    ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 01 ธ.ค. 2567

  • 4

    พรรคประชาชนเปิดหน้าชนพรรคเพื่อไทย

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 24 พ.ย. 2567

  • 5

    มีใครเข้าใจประเด็นโต้แย้งเรื่อง MOU 44 และเกาะกูด บ้าง

    วันที่อัพเดทล่าสุด : 17 พ.ย. 2567

นิด้าโพล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เลขที่ 148 ถนนเสรีไทย
แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240

ติดต่อเรา

ฝ่ายโพลสาธารณะ :
02 727 3596
, 02 727 3028

ฝ่ายธุรกิจโพล :
02 727 3618
, 02 727 3387

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ :
02 727 3089

โทรสาร :
02 727 3590

อีเมล : nida_poll@nida.ac.th

Copyright © 2020. All Rights Reserved. nidapoll.nida.ac.th